วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

ตอนที่ 20 : あのさ、僕さ

    หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า あのさ、僕さ、あれさ、だからさ และอีกหลายๆ〜さกันบ่อยๆ นอกจากさแบบนี้แล้วก็ยังมี さ แบบที่ลงท้ายประโยคยาวๆก็มี อย่างในเรื่องมารุโกะจัง เราได้ยินมารุโกะใช้คำว่า 「さ」เช่น 「これなんかいいじゃない?ちょっと渋めでさ」พอได้ยินคำเหล่านี้บ่อยและอยากลองใช้บ้าง แต่ก็ไม่รู้ว่ามันใช้ยังไง 555 พอมาทำ目標เรื่อง 文末表現 ก็เลยลองหากันดูหน่อย แต่ว่าไม่ค่อยมีข้อมูลเท่าไร(T^T) แต่ก็ได้ไปเจอบทความหนึ่งมาเขาบอกว่า 「さ」เป็น 共通語 (เป็นภาษาที่ใช้ร่วมกัน แต่ไม่ได้เป็นภาษามาตรฐานหรือที่เรียกว่า 標準語) ซึ่งคำนี้ไม่ได้มีความหมายอะไรพิเศษมาก แต่ว่าการใช้ 「さ」เข้าไปจะทำให้ความรู้สึกต่างออกไป ซึ่งก็มีลักษณะในการใช้ดังนี้

1.  แสดงความรู้สึกเน้นย้ำแก่ฝ่ายตรงข้าม
     เช่น そんな事当たり前さ。(เรื่องแบบนั้นก็เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วนี่)
2. แสดงความรู้สึกไม่สนใจ ช่างมัน
     เช่น まあいいさ。(ช่างมันเถอะ)
3. แสดงความรู้สึกที่อธิบายหรือเล่าเรื่องราวที่ตัวเองไม่ได้ประสบโดยตรง
    เช่น やっぱりそうなんだってさ (เป็นอย่างที่คิดไว้จริงๆด้วย)
4. แสดงความคิดถกเถียงปัญหาหรือคำถามที่ค่อนข้างรุนแรง
   เช่น どこいってたのさ。(ไปไหนมา)
5. ตัดประโยคเพื่อแสดงการเล่าเรื่องที่กำลังนึกอยู่
   เช่น それがさ、まずいことにさ、なっちゃった。 (นั่นอ่ะนะ ก็กลายเป็นเรื่องที่แย่เลย)

  แบบที่ 5 คงเป็นแบบที่เราคุ้นหูกันมากสุด อย่างตอนที่ไปญี่ปุ่นก็ได้ยินคนพูด あのさ อยู่บ่อยๆ :3 นอกจากนี้การออกเสียงก็ทำให้เน้นยิ่งขึ้นได้ เช่น ข้อ 1 กับ 5 จะลงเสียงหนักที่ さ ในขณะที่ 2. 3. และ 4. จะออกเสียงเบา

ตอนที่ 19 : 何だろう〜?


「何だろう〜?」เป็นคำที่เราเคยได้ยินในรายการทีวีตอนที่พิธีกรถามคำถามไป เช่น ถามว่า 「 好きな食べ物はなんですか?」แล้วผู้ที่ถูกถามก็เอ่ยขึ้นมาว่า 「そうですね。何だろう〜」เราก็เลยจำมาว่า 「何だろう?」คงจะใช้ในเวลาที่นึกคำตอบไม่ออก อารมณ์ประมาณว่า "นั่นสิ อะไรน้าาาา" แบบนี้  แต่เราก็เพิ่งมารู้สึกสงสัยว่า ทำไมต้องใช้ 「だろう」ในเมื่อที่เรียนมา คำว่า「だろう」แปลว่า "คงจะ…" ใช้คาดการณ์เหตุการณ์ที่เราคิด แต่คำว่า 「何だろう?」คงไม่ได้แปลว่า "คงจะเป็นอะไรน้า" แน่ๆ

 เอาล่ะ ทีนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า 「〜だろう」หรือที่เป็นคำสุภาพว่า 「〜でしょう」เนี่ย เขาใช้กันในกรณีไหนกันบ้าง :)

1. ใช้ในเรื่องที่คาดเดา เรื่องที่ยังไม่แน่ใจ (แบบที่เราได้เรียนมา)
    เช่น 明日は雨が降るだろう。(พรุ่งนี้ฝนคงจะตก) 

2. ใช้กับเรื่องที่รู้สึกชื่นชม ประทับใจ เรื่องที่อยู่เหนือความคาดหมาย
    เช่น あの犬はなんて可愛いんだろう! (สุนัขตัวนั้นช่างน่ารักน่าชังเสียเหลือเกิน)ในกรณีนี้ผู้พูดแสดงถึงความรู้สึกชื่นชมที่มีต่อสุนัข ซึ่งจะแตกต่างกับประโยคบอกเล่าธรรมดา เช่น あの犬はわかいい。(สุนัขตัวนั้นน่ารัก)จะเป็นการบอกเล่าเฉยๆไม่ได้ใส่อารมณ์ความรู้สึกของตัวเองลงไปด้วย

3. ใช้คำเรื่องที่เป็นข้อสงสัย
   เช่น あの人は誰だろう。田中さんじゃないかな。(คนนั้นคือใครกันนะ คุณทะนะกะใช่หรือเปล่านะ) การใช้แบบนี้จะเป็นการใช้เหมือนกันคำว่า 「何だろう」คือแสดงข้อสงสัยที่มีอยู่ในใจ เวลาที่มีคนมาถามแล้วนึกคำตอบไม่ออกหรือกำลังคิดอยู่ว่า "นั่นสิน้าาา อะไรดีนะ"  จึงใช้คำว่า 「何だろう」นั่นเองงงงง

ตอนที่ 18 : 〜ですけれども


 「〜ですけれども、〜」มักจะเป็นคำที่เราได้ยินบ่อยๆ ไม่ว่าจะจากเจ้าของภาษาเองหรือเพื่อนที่พูดภาษาญี่ปุ่นเก่งๆในห้องเรียน ได้ยินบ่อยนะ แต่เป็นคำที่เราไม่เคยใช้เลย เพราะเราไม่รู้ว่ามันใช้ยังไง และใช้ตอนไหน??? จริงๆเรื่องนี้เราก็นึกสงสัยมาสักพักหนึ่ง แต่ไม่ได้คิดหาคำตอบ จนมานั่งดูรายการ 「決めてほしい話」ที่เป็นรายการให้คนมาเล่าเรื่องเพื่อให้อีกฝ่ายบอกว่าเป็นเรื่องอย่างไร ตอนที่เขาเริ่มเข้าเรื่องก็เริ่มด้วยคำว่า 「2年くらい前なんですけれども、〜」เราก็เลยคิดว่า เอ๊ะ!งั้นคำนี้น่าจะเป็นคำที่ใช้เกริ่นเข้าเรื่องหรือเปล่านะ ก็เลยลองไปหาอ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ดู ก็ได้ความมาว่า...

   จริงๆแล้วถ้าลองดูจากพจนานุกรม คำว่า 「けれども」จะมีหน้าที่คือ
1. คำช่วยเชื่อม (接続助詞)
 - ใช้แสดงความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งกันระหว่างสถานการ์ด้านหน้าและด้านหลัง เช่น 
        あなたを恨む気持ちはないけれども、仇を討たなければならない 
  (ถึงจะไม่มีความรู้สึกแค้น แต่ก็ต้องทำลายศัตรู)
    - ใช้แสดงความเห็นตรงข้ามต่ออีกฝ่ายอย่างนุ่มนวลด้วยการย่อไว้ เช่น 
        いいと思いますけれども  (ก็คิดว่าดีนะ แต่...)
2. คำเชื่อม(接続詞)
    - ใช้เป็นคำเชื่อม "แต่"(ต่างจากข้างบนตรงอันนี้จบประโยคหนึ่งแล้วค่อยต่ออีกประโยค) เช่น
      天気予報では今日は晴だった。けれども朝から雨が降っている。
     (พยากรณ์อากาศบอกไว้ว่าวันนี้อากาศดี แต่ว่าฝนกลับตกตั้งแต่เช้าเลย)

   ซึ่งหน้าที่เหล่านี้ไม่เห็นเหมือนที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันเลย O___O!  นั่นเป็นเพราะว่าเดี๋ยวนี้ภาษาเริ่มเปลี่ยนไป 〜ですけれも ที่เราได้ยินในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงเป็นคำที่ใช้แทน 〜は ได้ด้วยนั่นเอง
 
เช่น   あなたのお考えですけれども、少々問題があると思います。
      = あなたのお考え、少々問題があると思います。 

ก็เหมือนกันกับที่เราได้ยินมา คือ   

2年くらい前なんですけれども、〜 ก็จะมีความหมายเท่ากับ  2年くらい前

  นอกจากนี้ จากที่เราสังเกตการใช้ของใครหลายๆคนทำให้เราคิดว่าคำว่า 〜ですけれども นอกจากจะใช้แทน 〜は แล้วใช้ในการเกริ่นเรื่องที่จะพูดต่อไปได้ด้วยนะ 

อันนี้คือรายการ 決めてほしい話 ที่เราดู :P  แอบตลกในบางครั้งที่ฟังรู้เรื่อง 555 เรารู้สึกว่าได้ยินคำว่า 〜ですけれども หรือไม่ก็ 〜ですけど บ่อยมากในตอนก่อนที่จะเกริ่นเล่าเรื่องอะไรสักอย่าง ลองดูนะ  :)  





วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

ตอนที่ 17 : นึกออกแล้วววว! 思い出す Vs. 思いつく

 จริงๆมันก็ไม่เกี่ยวกับ 目標 ที่ตั้งไว้หรอกนะ...แต่เป็นความรู้ที่ได้มาโดยบังเอิญและคิดว่ามันน่าสนใจดี
ปกติก่อนหน้านี้เราไม่รู้จักว่าคำ 思いつく หรอกนะ แล้วเราก็ไม่รู้ว่ามันแปลว่าอะไรด้วย

  จนวันหนึ่ง... เราไปส่งเพื่อนคนญี่ปุ่นกลับญี่ปุ่นที่สนามบินสุวรรณภูมิ :3 วันนั้นมีเพื่อนคนญี่ปุ่นของเขามาด้วยอีกหลายคน สองคนในนั้นตัดสินใจว่าจะทำอะไรตลกๆให้เพื่อนเราดูก่อนกลับญี่ปุ่น แล้วเขาก็เดินหายไปคิดว่าจะทำอะไรดี คนแรกก็แสดงตลกฮาๆไปเรียบร้อย ส่วนคนที่สองดูเหมือนจะยังคิดไม่ออก เพื่อนเราก็เลยถามไปว่า "思いつかない?"  พอได้ยินดังนั้นเราเลยพอนึกออกว่า คำว่า 思いつく เนี่ยน่าจะแปลว่า "นึกออก คิดออก" อะไรแบบนี้ แต่ เอ๊ะ!"思い出す" ก็แปลว่านึกออกเหมือนกันนี่หน่า ทำไมไม่ใช้ล่ะ เมื่อเราเกิดข้อสงสัยดังนั้น จึงถามเพื่อนออกไปว่าในกรณีนี้ใช้ 思い出す ได้ไหม?และได้ความว่า...

   "ไม่ได้ก๊ะ" ที่ไม่ได้เพราะว่า 思い出す แปลว่า นึกออกก็จริง แต่แปลว่านึกออกในเรื่องราวอดีตที่ผ่านมาแล้ว เช่น เราวางกุญแจรถไว้บนโต๊ะ แล้วก็เราก็ลืม หาไม่เจอว่ามันอยู่ไหน ก็คิดๆๆๆจน 思い出す ออกมาว่า อ้อ เราวางไว้บนโต๊ะนะ  ในขณะที่ 思いつく จะเป็นการนึกออกถึงสิ่งใหม่ๆ อย่างสถานการณ์ที่เล่าให้ฟังด้านบน เพราะว่าเป็นการคิดมุขตลกๆที่ไม่ได้มีมาก่อนหน้านั้น ถือว่าเป็นสิ่งใหม่ ถ้านึกออกในกรณีแบบนี้ก็จะใช้คำว่า 思いついた!

เพื่อให้กระจ่างยิ่งขึ้น นี่คือภาพของคน 思い出した

จะมีหน้าตาที่ตกใจเล็กน้อย โอ๊ะ!ใช่แล้ว นึกออกละ

ส่วนนี้คือภาพของคน 思いついた

ปิ๊งงงงง!นึกไอเดียออกแล้ว



   ถือเป็นการเรียนรู้นอกห้องได้ดีและจำแม่นด้วย และหวังว่าดูภาพแล้วคงจะเข้าใจยิ่งขึ้น 555   

ตอนที่ 16: 雪国 เมืองหิมะ...


   ทันทีที่ได้ยินชื่อหนังสือเรื่อง 雪国 ของ 川端康成  ในตอนที่ทำ タスク ครั้งสุดท้ายในห้องเรียน ก็ทำให้เรานึกถึงใครบางคนขึ้นมา เพราะคนๆนั้นเราก็เลยได้มีโอกาสไปยืมหนังสือเล่มนิยายเรื่อง 雪国 ฉบับแปลเป็นภาษาไทยว่า "เมืองหิมะ" จากห้องสมุดอักษรฯมาอ่าน

   タスクครั้งนี้เป็นการให้วาดรูปจากคำบรรยายของตอนหนึ่งในหนังสือเรื่องนี้ เราจำคำบรรยายไม่ได้แล้ว เพราะไม่ได้จดมา คร่าวๆก็จะเป็นประมาณ​ "国境の長いトンネルを抜けると雪国であった・・・”  จริงๆแล้วมีต่ออีกแต่จำไม่ได้ เขาก็บอกว่าให้วาดรูปจากคำบรรยายนี้ ก็คือให้สมมุติว่าเราเป็นตัวละครนั้นแล้วเราจะเห็นภาพอย่างไร 

 เราวาดออกมาไม่ได้ T^T วาดรูปไม่เป็น 555 ก็เลยได้แต่ปล่อยกระดาษทิ้งโล่งขาวอยู่อย่างนั้น แต่มีภาพในหัวนะ คือแบบเป็นภาพรถไฟกำลังวิ่งออกจากอุโมงค์ แล้วรอบๆก็มีบ้านที่ถูกหิมะปกคลุมขาวโพลน ประมาณนี้




 ซึ่งทุกคนส่วนใหญ่จะวาดออกมาเป็นแนวนี้กันหมด แต่ทว่าคนญี่ปุ่นอ่านข้อความนี้แล้วกลับวาดออกมาอารมณ์ประมาณนี้ค่ะ 


  นี่คือความแตกต่างระหว่างคนญี่ปุ่นและคนไทย คือ คนไทยจะมองภาพใหญ่ มองเหมือนตัวเองเป็นพระเจ้ากำลังมองดูโลกอยู่อะไรประมาณนั้น เวลาคนไทยอ่านนิยายก็จะเป็นแบบนี้ ในขณะที่คนญี่ปุ่นมองภาพเล็ก มองตัวเองเป็นตัวละครที่อยู่ในเรื่อง เขาบรรยายว่ารถไฟออกจากอุโมงค์แล้วจะมีแต่หิมะ ก็เป็นภาพแค่นั้นจริงๆ ไม่มีเห็นตัวขบวนรถไฟ เนื่องจากตัวเองนั่งอยู่ในรถไฟ 

  เรารู้สึกว่าอันนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เราตื่นตาตื่นใจมากเลย เราเพิ่งรู้ว่าคนไทยกับคนญี่ปุ่นมองไม่เหมือนกัน แต่ก็ทุกครั้งที่เราอ่านหนังสือเราก็เป็นแบบคนไทยนะ คืออ่านแล้วจินตนาการภาพเหมือนกำลังดูทีวีอยู่ ไม่ใช่เราเป็นตัวละครในนั้น 

  จริงๆ タスク ครั้งสุดท้ายก็ถือว่าเป็นอะไรมีสนุกและมีความประทับใจเหมือนกันนะ :3 เพราะมุมมองของคนไทยกับคนญี่ปุ่นต่างกัน บางทีเลยทำให้การใช้ภาษาแตกต่างกันไปด้วย พอเอาภาษาไปแปลตรงๆมันก็เลยรู้สึกแปลกไปในบางที คือตัวไวยกรณ์ไม่ผิดหรอก แต่ว่าอาจจะไม่ใช้กัน จากนี้ก็คงต้องระวังการใช้ให้ดี :P

ตอนที่ 15 : 美味しい料理 เป็นยังไง?

 หัวข้อนี้สืบเนื่องมาจากตอนที่แล้วค่ะ ที่คุยกันว่าจะเขียนยังไงที่จะบรรยายความรู้สึกที่เรามีให้อีกฝ่ายรับรู้ได้ タスク ที่ทำในห้องคราวนี้จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบรรยายภาพคำว่า 美味しい料理 ว่ามันโออิชี่ขนาดไหนและโออิชี่ยังไง :P มาดูกันว่า 美味しい料理 ของเราเป็นยังไง

田中先生
 昨日は、すてきなお店で美味しい料理をごちそうになり、ありがとうございます。
はじめて日本料理を食べて、とても感動しました。日本料理は意外においしいです。タイ料理の味とまったく違いますが、口に合いました。これからたくさん日本料理を食べようと思います。

    *ส่วนสีฟ้าคือส่วนที่เราบรรยาย 美味しい料理

    งานครั้งนี้อาจารย์ให้เขียนแล้วจับกลุ่มกัน 3−4คน พูดคุยกันแล้วเลือกของคนที่คิดว่าน่าสนใจที่สุดมาอ่านให้เพื่อนๆฟัง ในกลุ่มเราส่วนใหญ่ที่มีน่าสนใจก็คือคนที่พูดถึงว่าเป็นอาหารที่ทำด้วยมือและอร่อยมาก แล้วก็บอกว่าอยากจะกลับไปที่ร้านนั้นอีกครั้ง แต่ของเราไม่ได้รับเลือกให้พูด T^T  แต่ก็มีเพื่อนบอกว่าน่าสนใจตรงที่มีการเอามาเปรียบเทียบกับของไทยแล้วบอกว่าถึงจะต่างกันแต่ก็ถูกปาก เราว่าของเราก็พอใช้ได้นะ :P อาจจะเพิ่มการบรรยายภาพอาหารว่าน่ากินขนาดไหน รสชาติเป็นยังไง ก็ดีเหมือนกัน แต่ タスク นี่ทำให้ห้อง เลยไม่ค่อยมีเวลาคิดมากเท่าไร นึกอะไรได้ก็เขียนมาก่อน

    จากการทำタスクนี้ทำให้เราเพิ่งรู้ว่าการเขียนบอกอะไรสักอย่างที่เป็นนามธรรมมันยากขนาดนี้ 555 แล้วความหมายของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันด้วย ซึ่งก็ไม่มีใครผิดใครถูกหรอก เพราะมันเป็นความรู้สึก เราแค่เขียนความรู้สึกของเราออกมาให้อีกฝ่ายรับรู้ก็เป็นพอ :)

ตอนที่ 14 : お礼のメール

 หลังจากที่เราได้เรียนรู้ที่จะขอโทษที่ส่งรายงานช้าไปแล้ว คราวนี้เราก็ต้องมาเขียนอีเมล์ขอบคุณอาจารย์ที่กรุณาเลี้ยงอาหารให้เรา บรรยายความเอร็ดอร่อยของอาหารว่ามันเลิศหรูอลังการวิลิศมาหลาสักเท่าไร และเราซาบซึ้งใจขนาดไหนที่อาจารย์กรุณาเลี้ยงเรา เผื่อคราวหน้าจะได้พาเราไปอีก อิอิ :P

จุดมุ่งหมายของ タスク ครั้งนี้ก็คือการเขียนบอกความประทับใจให้อีกฝ่ายรับรู้ค่ะ! ซึ่งอาจารย์เพิ่งมาบอกหลังจากทำ タスク ไปแล้วว่านี่คือจุดมุ่งหมาย แต่ตอนที่เราเขียนก็นึกถึงสิ่งนี้นะว่าเขียนยังไงดีให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าเรารู้สึกขอบคุณจริงๆ  และนี่คือ お礼のメール ของเรา และอาจารย์ที่เขียนถึงก็ยังคงเป็นอาจารย์ 田中さとし ที่เราขอเลื่อนส่งรายงานไปในตอนที่แล้ว 555

タイトル:食事のお礼

田中さとし先生

 こんにちは。三年生のタックサポーンです。
 昨日の晩、お食事に誘って頂き、ありがとうございました。日本に留学してから、はじめてこんな高級なレストランに参りました様々な日本の伝統的な料理をおごって頂いて、嬉しかったです。全部美味しかったですが、最も好きなのはお刺身です実は私はお刺身が苦手ですが、昨日食べてみたら、非常に美味しかったです
 また、先生はお時間いただきまして、日本の生活のことを色々教えてくださいました。大変感謝しています。


タックサポーン

รอบนี้จะขอพูดทีเดียวเลยนะ เนื่องจากอีกฝ่ายเป็นอาจารย์ก็ต้องใช้คำยกย่องถ่อมตัวกันให้วุ่นไปหมด คือเป็นคนที่ไม่ถนัดเรื่องพวกนี้อยู่แล้วด้วย TOT ส่วนเนื้อหาอีเมล์ก็ค่อนข้างโอเค ไม่มีปัญหา มีการบรรยายว่าร้านแพงๆแบบนี้เพิ่งเคยไปครั้งแรก ดีใจมากเลย แล้วก็บอกว่าอร่อยมาก ขนาดเมื่อก่อนไม่ชอบกินชาชิมิ พอได้มาลองกินที่นี้แล้วรู้สึกว่าอร่อยมาก ซึ่งก็ทำให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความประทับใจที่มีต่อการกินอาหารครั้งนั้น นอกจากนี้ยังได้เขียนขอบคุณเรื่องที่บอกเรื่องต่างๆที่ได้คุยกันตอนรับประทานอาหารด้วย :) ตรงที่เราขีดเส้นไว้คือส่วนที่บรรยายความประทับใจที่ตัวเองมีอยู่ 

สรุปว่า ผ่านนนนนน 

ที่เรียนในห้องก็มี 表現 ที่น่านำไปใช้ ดังนี้
1. (本当に)ありがとうございます
2.(心から/深く)感謝いたします
3.(厚く)お礼申し上げます
4.(本当に)ありがたく/嬉しく存じます
5.(本当に)助かりました

 

ตอนที่ 13: お詫びメール

   
เรื่องที่จะขออัพในตอนนี้ก็คงจะเป็น タスクเรื่อง お詫びメール  
โจทย์ของเรื่องมีอยู่ว่าให้เขียนอีเมล์ไปขออาจารย์ส่งงานช้ากว่ากำหนดเนื่องจากเหตุผลอะไรก็ตาม(ที่ต้องคิดเอง) แล้วก็ต้องขอโทษอาจารย์ด้วย อาจารย์ชื่อ 田中さとし แล้วก็เป็นวิชาที่เรียนห้องใหญ่ด้วยซึ่งอาจารย์อาจจะไม่รู้ว่าเราเป็นใคร เพราะฉะนั้นก็ต้องแนะนำตัวให้ดีๆ 

เราคิดว่า タスク อันนี้ก็มีประโยชน์นะ เรียนแล้วก็ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่าควรจะเขียนยังไงให้คนอ่านประทับใจและอยากให้อภัยเรา :)  น่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้ตอนไปญี่ปุ่น เผื่อแบบทำงานไม่ทันจะได้เขียนขอส่งช้า 555  เอ้ยยย ไม่ใช่! เผื่อมีเหตุอะไร จะได้เขียนได้  

タスク ครั้งนี้เป็นครั้งที่ชอบที่สุด ทำไมนะหรอ? เพราะว่าทำได้ดี ฮ่าาาาา ได้รับคำชื่นชมมา >____<  และได้รับเลือกจากคนญี่ปุ่นว่าเป็นอันที่ใช้ได้เลยทีเดียว อิอิ เอาละ ไปดูกันดีกว่าว่ายูเขียนว่าอย่างไรบ้าง

ชื่อหัวเรื่อง : レポートの提出

田中先生

 こんにちは。田中先生の授業を受けた三年生のタックサポーンと申します。
 レポートの提出日のことなのですが。提出期限は12月30日(月)になっていますが、私は先週の火曜日に交通事故で入院して、今日退院したので、間に合わない恐れがあります。レポートの内容はだいたいできましたが、結論の部分はまだできていません。それから、入院で先週テストを欠席したので、明日テストを受けなければなりません。できれば提出日に出したいですが、間に合わなさそうです。もしよろしければ、1月2日(木)に出させていただけないでしょうか。申し訳ございませんが、よろしくお願いいたします。

           タックサポーン  


ถึงจะดีแต่ก็มีข้อเสียนะฮะ~ ก่อนอื่นมาดูข้อเสียกันก่อนดีกว่า 
1. หัวเรื่อง :  レポートの提出
    การตั้งชื่อหัวเรื่องอีเมล์แบบนี้จะหมายถึงว่าเราส่งงานมาให้อีเมล์ฉบับนี้ด้วย แบบว่่าทำเสร็จแล้วจะขอส่งอะไรแบบนี้ แต่เนื้อความในอีเมล์ของเรากลับไม่ใช่การส่งการ แต่เป็นการขอเลื่อนส่งงาน ดังนั้นจึงใช้หัวเรื่องแบบนี้ไม่ถูกต้องค่ะ 

2. ลงชื่อ : タックサポーン 
   อย่างที่ได้เคยกล่าวไปในตอนที่แล้วว่าการลงชื่อข้างท้ายชื่อควรจะอยู่ซ้ายสุด เราก็เพิ่งได้เรียนรู้จาก タスク อันนี้ เพราะปกติเรามักจะชอบวางชื่อไว้กลางๆเยื้องๆทางซ้ายหน่อย ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทำไม 555 

  เท่าที่ได้รับการวิจารณ์มาก็มีแค่นี้แหละค่ะ :) คราวนี้มาดูข้อดีกันซิ  ข้อดีของอีเมล์ฉบับนี้ที่ได้รับการคอมเม้นต์มาก็คือ

1. เหตุผลใช้ได้ : เหตุผลที่อ้างไปคือประสบอุบัติเหตุทางรถเลยต้องเข้าโรงพยาบาลแล้วเพิ่งออกจากโรงพยาบาลมาจึงทำให้ไม่สามารถทำงานเสร็จได้ทัน ซึ่งก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้จริงๆ 

2. มีการบอกว่าทำถึงไหน : มีการบอกว่าเนื้อหาทำเสร็จหมดแล้ว เหลือแค่ส่วนสรุป ซึ่งก็เหลืออีกนิดเดียว

3. มีการบอกวันที่จะส่งชัดเจน :  ที่เราได้ไฮไลท์สีเหลืองไว้ สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ เราจะอะไรยังไงไม่ค่อยสำคัญ เพราะอาจารย์เขาแค่อยากจะรู้ว่าที่เราจะส่งช้าเนี่ย คือส่งเมื่อไร และควรจะเป็นวันที่เหมาะสมด้วย ไม่ใช่ขอส่งช้าเป็นอาทิตย์หรือเป็นเดือน อันนี้รู้สึกจะเป็นพ้อยท์สำคัญที่ทำให้อีเมล์ฉบับนี้ดูดีขึ้นมา 555  


ส่วนต่อไปที่จะเขียนถึงคือหลักการเขียน お詫びメール นะคะ 

1. มีเหตุผลที่เหมาะสม 
2. มีการบอกว่าจะส่งเมื่อไรอย่างชัดเจน
3. มีวิธีการแก้ไขว่าต่อไปจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาอีกหรือบอกว่าจะไม่ทำแล้ว 

ดังนั้น เมื่อได้เรียนรู้หลักการประกอบกับดูของเพื่อนๆ เราเลยแก้ออกมา ดังนี้ 


หัวเรื่อง:レポート提出延期のお願い 

田中さとし先生

 こんにちは。メールで、失礼いたします。田中先生の授業を受けた三年生のタックサポーンと申します。
 レポートの提出のことなのですが。提出期限は12月30日(月)になっていますが、私は先週の火曜日に交通事故で入院して、今日退院したので、間に合わない恐れがあります。レポートの内容はだいたいできましたが、結論の部分はまだできていません。また、入院で先週テストを欠席したので、明日テストを受けることになっています。できれば提出日に出したいですが、間に合わなさそうです。もしよろしければ、1月1日(水)に出させていただけないでしょうか。
 本当に申し訳ございません。今度必ずこんなことを起こらないようにします。よろしくお願いいたします。

チュラーロンコーン大学 文学部3年
学籍:xxxxxxxxxx
タックサポーン  


ตรงส่วนสีชมพูคือส่วนที่เราแก้ไป :) 

1. 田中さとし先生:จะเห็นว่าตอนแรกเราเขียนว่า 田中先生 เฉยๆ แต่พอมาคุยกันในห้องแล้วปรากฏว่าถ้าเขียนนามสกุลแล้วเขียนชื่อด้วยจะดีกว่า เราก็เลยเพิ่มเข้าไป

2. メールで失礼いたします:อันนี้เห็นว่าดูดีเลยไปลอกคนอื่นเขามา ฮ่าาา ก็เป็นการขอโทษที่ไม่ได้ไปคุยด้วยตัวเองแต่ส่งเมล์มาแทน 

3. 今度必ずこんなことを起こらないようにしますครั้งแรกที่ทำไม่ได้บอกว่าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก พอได้เรียนหลักการเลยใส่เพิ่มลงไป

4. ชื่อลงท้าย:จัดให้ชิดมุมซ้ายแล้วเพิ่มชื่อมหาลัย คณะ ชั้นปี และรหัสนิสิตลงไปด้วย  

 จริงๆเราอยากจะแก้อีกอย่างหนึ่ง เรารู้สึกว่าตรงที่บอกว่า"เพราะว่าขาดไปก็เลยต้องมาตามสอบพรุ่งนี้ด้วย" ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้เพราะมันดูไม่เกี่ยวกันเท่าไร แค่บอกวันที่จะส่งให้ชัดเจนก็พอ 

เอาละ ขอจบ タスク นี้แต่เพียงเท่านี้แล.... :) 

ตอนที่ 12 : เขียนอีเมล์ถึงคนญี่ปุ่น ยังไงดีนะ?

ในที่สุดปีสามอันหฤโหดก็ได้จบลงแล้ว! เย่ะ  
เอาละ คงถึงเวลาดีที่จะได้อัพบล็อกรัวๆซะทีหลังจากที่ปล่อยทิ้งร้างมานานมาก 

เรื่องแรกที่จะขออัพก็คงจะเป็นเรื่องต่อจากคราวที่แล้วคือเป็นเรื่องการเขียนจดหมาย จะบอกว่าการเรียนเรื่องนี้เป็นอะไรที่มีประโยชน์มาก เพราะเราก็เป็นคนหนึ่งที่มีปัญหามากเกี่ยวกับการเขียนจดหมายไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาญี่ปุ่น คือไม่รู้จะเขียนยังไงให้สุภาพและทำให้เขาประทับใจ แต่หลังจากได้เรียนการเขียนจดหมายจาก タスク ที่เป็นเรื่อง ギタリスト ก็ทำให้เข้าใจหลักของการเขียนจดหมายได้มากขึ้น แล้วเราก็ได้นำไปใช้ประโยชน์จริง!แล้วใช้ยังไงตอนไหนละ?

นี่ไง 



เราได้ใช้อะไรจากการเรียนในอีเมล์ฉบับนี้บ้าง〜

1. 〜様 :เนื่องจากคุณยะโนะเป็นคนที่เราไม่สนิท เขาเป็นคนของสมาคมที่ให้ทุนเราไปเรียนญี่ปุ่น เป็นผู้มีพระคุณ (>人<) กราบบบ ดังนั้นตามที่เรียนมาก็คือควรจะใช้คำว่า 〜様 ถูกต้องตามหลัก จริงๆถ้าไม่ได้วิชานี้อาจจะใช้ 〜さんへ ไปแล้วก็ได้ คุณยะโนะอาจจะแอบช็อกเล็กๆ 

2.夜分遅くにすみません:อันนี้เราว่าเราแอบพลาด น่าจะใช้ 申し訳ございません ให้สุภาพสุดๆไปเลย 555 

3. มีการแนะนำตัว : จากที่เรียนมา เวลาส่งจดหมายก็ต้องแนะนำตัวด้วย บอกว่าเราเป็นใครมาจากไหนอะไรยังไง 

  แต่!อย่างไรก็ตาม เราแอบผิดตรงชื่อลงท้ายของเรา จริงๆแล้วมันควรอยู่ชิดริมซ้ายสุดตามที่ได้เรียนใน お詫びメール ที่จะเขียนต่อไป 


นอกจากอีเมล์ถึงคุณยะโนะแล้ว ก็ยังมีอีเมล์ถึงอาจารย์ฮะยะชิด้วย 


อาจารย์ฮะยะชิเป็นอาจารย์สอนเขียนพู่กันที่จะมาสอนเราเขียนในช่วงต้นกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เขาอีเมล์มาถามว่าอยากจะเขียนพู่กันเป็นตัวอักษรอะไร เขาจะได้เตรียมแบบไว้ให้ แล้วเราก็เลยได้ใช้หลักการที่เรียนมาตอบไป 

1.〜先生 : เรียนมาแล้วว่าถ้าเป็นคนไม่สนิทและสูงกว่าให้ใช้ 〜様 แต่ถ้าเขาเป็นอาจารย์ก็ให้ใช้คำว่า 〜先生ต่อท้ายชื่อจะดีกว่า เราก็เลยทำตามนั้น จริงๆแล้วเขียนทั้งนามสกุลและชื่อด้วยจะดีกว่า แต่ตอนนั้นเรายังไม่รู้ชื่ออาจารย์เลยเขียนไปแค่นามสกุลเท่านั้น 

2. 初めまして、〜と申します:เนื่องจากเป็นการเขียนถึงอาจารย์ครั้งแรกก็เลยต้องแนะนำตัวยินดีที่ได้รู้จักตามหลักที่เรียนมาก่อนจะเข้าเรื่อง 

และก็มีที่ผิดคือตรงลงชื่อท้ายสุดอีกแล้วขรับ (T___T)/  ปกติจะเป็นคนติดว่าต้องลงชื่อไว้กลางๆตลอดเลย แต่ถ้าจำไม่ผิดตอนที่เขียนอีเมลล์ฉบับนี้ยังไม่ได้เรียนรู้เรื่องการลงชื่อข้างท้ายอีเมล์ จึงออกมาเป็นแบบนี้แล 


ก็ตามนั้น... เราเลยรู้สึกว่าเรื่องการเขียนอีเมล์มีประโยชน์มาก และเป็น タスク ที่เราชอบมาก เพราะเรามีปัญหาด้านนี้มานานแล้ว 555 เดี๋ยวจากนี้อีกสักพักก็คงต้องได้ใช้อีกแน่ เพราะคงต้องเขียนอีเมล์แนะนำตัวถึงอาจารย์ท่ี่ปรึกษาที่มหาวิทยาลัยที่จะไปแลกเปลี่ยน :3 ขอบพระคุณวิชานี้จริงๆค่ะ 


วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

ตอนที่ 11 : ギタリスト

  ปกติเวลาได้งานคืนมาจะอัพทันที แต่รอบนี้หมดแรง (T.,T) รู้สึกมีอะไรหลายๆอย่างที่ต้องทำ แถมช่วงหยุดกีฬามหาวิทยาลัยก็ไปอินโดนีเซียอีก กลับมาเมื่อวาน วันนี้ก็ไม่ยอมไปเรียน ไม่ไหวจริงๆ :'/  ยังไม่อยากกลับมาเผชิญหน้ากับความจริงแล้วเลย ฮืออออ 
   รอบนี้เป็นเรื่องของการเขียนจดหมายไปหาอาจารย์สอนกีตาร์ที่มีชื่อเสียงเพื่อที่จะขอเรียนกับเขา และต้องใช้คำยกย่องด้วย ก็คิดว่าค่อนข้างยากพอสมควร เพราะว่าไม่ค่อยถนัดใช้พวกคำแบบนี้สักเท่าไร เอาละ มาดูรอบแรกกันดีกว่า 

1回目

   山内修二さんへ

  こんにちは。私はタックサポーンと申します。山内さんのホームページに「個人レッスンを引き受ける」ろ書いてあるのを見て、詳しいことをもらいたいので、メールを送りました。私は今フラメンコギターを趣味でやっています。もう5年ほどレッスンを受けていて、将来はフラメンコ舞踊の伴奏家として仕事をしたいと思っています。そのため、出来るだけフラメンコギターが上手になりたいです。ネットでギターレッスンについて調べたら、山内さんのホームページが出ました。尊敬している有名なギタリストが個人レッスンを引き受けるのを見て、受けたいです。受けるために何か必要なものがありませんか。それから、何か条件がありますか。ありがとうございます。

               タックサポーン 


มาลองดูกันทีละจุดนะฮะ 
1. 山内修二さんへ 
 ตามที่เคยได้ร่ำเรียนมา ปกติเวลาเราเขียนจดหมายถึงใคร จะใช้คำว่า へ  แต่ว่าเพิ่งมารู้จากวิชานี้แล้วว่า ปกติแล้วคำว่า へ จะไม่ใช้กับคนที่อายุมากกว่า จะใช้กับคนที่อายุต่ำกว่าหรือเพื่อนกันเท่านั้น นอกจากนี้ ถ้าผู้ที่เราเขียนจดหมายถึงเป็นบุคคลที่ไม่รู้จักกันมาก่อนหรืออายุมากกว่าควรจะใช้คำว่า 〜様 ไม่ใช้คำว่า 〜さん ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเป็นบุคคลที่มีตำแหน่ง อย่างในกรณีนี้เป็นอาจารย์ ก็ควรใช้คำเรียกว่า 先生  จะดีกว่าด้วย

2.  こんにちは
 อ้าว สงสัย ทำไม こんにちは ใช้ไม่ได้ มันไม่ได้เป็นคำทักทายหรอ? เหมือนเวลาเราเขียนจดหมายไปหาใครสักคนแล้วขึ้นต้นด้วยคำว่า "สวัสดีค่ะ" แต่เราจะเอาภาษาญี่ปุ่นมาเทียบกับภาษาไทยไม่ได้ เพราะในภาษาญี่ปุ่น こんにちは จะให้อารมณ์แบบว่าสนิทกัน ซึ่งในกรณีนี้เรายังไม่รู้จักอาจารย์เลยด้วยซ้ำ เลยใช้ไม่ได้ ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า 初めまして จะดีกว่า 

3. 詳しいことをもらいたいので
 ส่วนตรงนี้เป็นส่วนที่อาจารย์ขีดมาให้ คิดว่าน่าจะแก้เป็น 教えてもらいたい หรือถ้าสุภาพขึ้นไปอีกก็น่าจะเป็น 教えていただきたい 

4.尊敬している有名なギタリストが個人レッスンを引き受けるのを見て
    ก่อนอื่นเรารู้สึกว่าตรงตัวแดงมันแปลกๆ ไม่ควรใช้แบบนี้ ถ้าจะใช้ก็ควรใช้ชื่อของอาจารย์ไปเลย แต่ตอนนั้นรีบๆ ไม่ทันคิด 55  ส่วนตรงที่เป็นสีเขียวเป็นส่วนที่อาจารย์ขีดมาให้ ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรว่าควรจะแก้ยังไง แต่คิดว่าน่าจะแก้เป็น 引き受けることを知って 

5. ありがとうございます。 
    เนื่องจากไม่รู้จะจบประโยคยังไง ก็เลยจบด้วยคำว่า "ขอบคุณค่ะ" ตามสไตล์คนไทย แต่ว่าที่ญี่ปุ่นเขาไม่ใช้กัน จะใช้ ありがとうございます  เฉพาะในตอนที่อีกฝ่ายตกลงรับคำแล้วว่าจะช่วยเหลือให้ถึงจะไปขอบคุณเขา ถ้าอีกฝ่ายยังไม่ตอบรับ ถือเป็นการเสียมารยาท เนื่องจากมีความหมายนัยว่าบังคับให้เขาทำให้ ในกรณีนี้จึงควรใช้ どうぞよろしくお願いいたします  เพราะเป็นการขอร้องให้อีกฝ่ายช่วยทำให้ 

  นอกจากส่วนที่กล่าวไปด้านบนแล้วก็มีเรื่องเนื้อหาเล็กน้อยที่เพื่อนคอมเม้นต์มาว่าน่าจะถามรายละเอียดเยอะกว่านี้ เช่น ราคาเท่าไร เรียนที่ไหน แล้วก็บอกระดับของตัวเองด้วยว่าเรียนมาขนาดไหนแล้ว มีความสามารถแค่ไหน เป็นต้น จากที่ได้รับคอมเม้นต์+ที่ได้เรียนจากในห้อง ก็เลยแก้ใหม่ออกมาเป็นอย่างนี้

ปล. รอบแรกเราไม่มีการแบ่งย่อหน้าเลย ใช้ย่อหน้าเดียวตลอด อาจจะทำให้อ่านยาก ดังนั้นจึงควรแบ่งย่อหน้าให้เหมาะสมด้วยนะจ้ะ :) 


2回目

   山内修二先生

 突然メールを差し上げる失礼をお許しください。タックサポーンと申します。
 先生の個人レッスンを受けたいと思うので、メールを送りました。 
 
 私は大学生です。今フラメンコギターを趣味でやっております。今まで5年ほど渋谷にある森山祐介フラメンコギターに週に2時間通っております。将来はフラメンコ舞踊の伴奏家として仕事をしたいことを森山先生に言ったら、山内先生のレッスンを受けるのを進めていただきました

 ですから山内のホームページを見て、先生の個人レッスンを受けさせていただけるかどうかお尋ねます。また、月謝と時間のことについての情報いただきたいと思います。

 ただ、平日午前9時から午後4時まで授業があります

 お手数ですが、レッスンを受けさせていただけるかどうか、お知らせいただけないでしょうか。どうぞよろしくお願い致します。

              タックサポーン

อ่าาา แก้มาอย่างตั้งใจ แต่ก็ยังมิวายมีข้อผิดเยอะแยะ (T^T)/  แถมผิดหนักเลย มาดูกันทีละข้อเลยดีกว่า

1. うので 
    จริงๆแล้วใช้แค่ 思い พอแล้ว ไม่ต้องใส่ ので  คิดว่าน่าจะเป็นเพราะว่ามันไม่ใช่เหตุผลขนาดนั้น คือแค่บอกสาเหตุที่ทำให้ส่งเมลล์นี้มาเฉยๆ  

2. メールを送りました 
     อาจารย์แก้เป็น 送らせていただきました น่าจะเป็นรูปสุภาพและบอกให้เห็นถึงสาเหตุที่ส่งเมลล์นี้มา 
  
3. フラメンコギター室 
      ต้องเป็น 教室 อันนี้ไม่มีอะไรมาก แค่พิมพ์ตกเฉยๆ  ;_;  ไม่รอบคอบ  

4. したいことを森山先生に言ったら 
    แก้เป็น したいことと森山先生に申し上げました หรือเป็น 申し上げましたら เป็นรูปถ่อมตัว เนื่องจากอีกฝ่ายเป็นอาจารย์  
   と森山先生に申し上げましたところ/OR申し上げましたら
5. 受けるのをめていただきました。 
         แก้เป็น 受けるよう薦められております  คันจิผิดด้วย (=____='')  

6. ですから、  
     ใช้กับผู้ใหญ่ไม่สุภาพนะจ้ะ ถ้าจะใช้ควรจะใช้ว่า ですので ดีกว่า แต่ไม่ต้องใช้ก็ได้ เพราะงั้นเอาออกไป บายยยย 

7. お尋ねます 
  แก้เป็น お尋ねしたいと思います เป็นรูปถ่อมตัวอีกจ้ะ 

8. 情報いただきたい
       แก้เป็น  情報もいただきたい เพราะว่าก่อนหน้านั้นเราก็มีคำถามไปแล้ว แล้วทีนี้อยากจะรู้เพิ่มเติมเลยใช้ も 

9. ただ、平日午前9時から午後4時まで授業があります。 
  อันนี้ไม่ได้ผิด แต่ควรจะมีประโยคต่อบอกให้ชัดดเจนว่าว่างวันไหนบ้าง ก็เพิ่มเป็น ただ、平日午前9時から午後4時まで授業がありますので、平日の夕方あるいは土曜日にしかレッスンを受けられません。

จากที่ดูโดยรวมก็คิดว่าส่วนใหญ่ที่ผิดก็น่าจะเป็นพวกคำยกย่องถ่อมตัวแหละ ปกติแล้วไม่ค่อยได้ใช้ อย่าว่าแต่ยกย่องถ่อมตัวเลย ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวันนี่ก็ยังไม่ค่อยได้ใช้เลย (-.,-) ต้องพยายามมากขึ้นแล้วสินะ เห้อออออ 

เอาละ มาดูอันที่แก้ครบถ้วนแล้วดีกว่า แก้แล้วก็จะกลายเป็นแบบนี้ วิ๊งๆ 

   山内修二先生

 突然メールを差し上げる失礼をお許しください。タックサポーンと申します。
 先生の個人レッスンを受けたいと思い、メールを送らせていただきました。 
 
 私は大学生です。今フラメンコギターを趣味でやっております。今まで5年ほど渋谷にある森山祐介フラメンコギター教室に週に2時間通っております。将来はフラメンコ舞踊の伴奏家として仕事をしたいことと森山先生に申し上げましたら、山内先生のレッスンを受けるのよう薦められております。

 山内のホームページを見て、先生の個人レッスンを受けさせていただけるかどうかお尋ねしたいと思います。また、月謝と時間のことについての情報もいただきたいと思います。

 ただ、平日午前9時から午後4時まで授業がありますので、平日の夕方あるいは土曜日にしかレッスンを受けられません。

 お手数ですが、レッスンを受けさせていただけるかどうか、お知らせいただけないでしょうか。どうぞよろしくお願い致します。

              タックサポーン