วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

ตอนที่ 18 : 〜ですけれども


 「〜ですけれども、〜」มักจะเป็นคำที่เราได้ยินบ่อยๆ ไม่ว่าจะจากเจ้าของภาษาเองหรือเพื่อนที่พูดภาษาญี่ปุ่นเก่งๆในห้องเรียน ได้ยินบ่อยนะ แต่เป็นคำที่เราไม่เคยใช้เลย เพราะเราไม่รู้ว่ามันใช้ยังไง และใช้ตอนไหน??? จริงๆเรื่องนี้เราก็นึกสงสัยมาสักพักหนึ่ง แต่ไม่ได้คิดหาคำตอบ จนมานั่งดูรายการ 「決めてほしい話」ที่เป็นรายการให้คนมาเล่าเรื่องเพื่อให้อีกฝ่ายบอกว่าเป็นเรื่องอย่างไร ตอนที่เขาเริ่มเข้าเรื่องก็เริ่มด้วยคำว่า 「2年くらい前なんですけれども、〜」เราก็เลยคิดว่า เอ๊ะ!งั้นคำนี้น่าจะเป็นคำที่ใช้เกริ่นเข้าเรื่องหรือเปล่านะ ก็เลยลองไปหาอ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ดู ก็ได้ความมาว่า...

   จริงๆแล้วถ้าลองดูจากพจนานุกรม คำว่า 「けれども」จะมีหน้าที่คือ
1. คำช่วยเชื่อม (接続助詞)
 - ใช้แสดงความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งกันระหว่างสถานการ์ด้านหน้าและด้านหลัง เช่น 
        あなたを恨む気持ちはないけれども、仇を討たなければならない 
  (ถึงจะไม่มีความรู้สึกแค้น แต่ก็ต้องทำลายศัตรู)
    - ใช้แสดงความเห็นตรงข้ามต่ออีกฝ่ายอย่างนุ่มนวลด้วยการย่อไว้ เช่น 
        いいと思いますけれども  (ก็คิดว่าดีนะ แต่...)
2. คำเชื่อม(接続詞)
    - ใช้เป็นคำเชื่อม "แต่"(ต่างจากข้างบนตรงอันนี้จบประโยคหนึ่งแล้วค่อยต่ออีกประโยค) เช่น
      天気予報では今日は晴だった。けれども朝から雨が降っている。
     (พยากรณ์อากาศบอกไว้ว่าวันนี้อากาศดี แต่ว่าฝนกลับตกตั้งแต่เช้าเลย)

   ซึ่งหน้าที่เหล่านี้ไม่เห็นเหมือนที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันเลย O___O!  นั่นเป็นเพราะว่าเดี๋ยวนี้ภาษาเริ่มเปลี่ยนไป 〜ですけれも ที่เราได้ยินในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงเป็นคำที่ใช้แทน 〜は ได้ด้วยนั่นเอง
 
เช่น   あなたのお考えですけれども、少々問題があると思います。
      = あなたのお考え、少々問題があると思います。 

ก็เหมือนกันกับที่เราได้ยินมา คือ   

2年くらい前なんですけれども、〜 ก็จะมีความหมายเท่ากับ  2年くらい前

  นอกจากนี้ จากที่เราสังเกตการใช้ของใครหลายๆคนทำให้เราคิดว่าคำว่า 〜ですけれども นอกจากจะใช้แทน 〜は แล้วใช้ในการเกริ่นเรื่องที่จะพูดต่อไปได้ด้วยนะ 

อันนี้คือรายการ 決めてほしい話 ที่เราดู :P  แอบตลกในบางครั้งที่ฟังรู้เรื่อง 555 เรารู้สึกว่าได้ยินคำว่า 〜ですけれども หรือไม่ก็ 〜ですけど บ่อยมากในตอนก่อนที่จะเกริ่นเล่าเรื่องอะไรสักอย่าง ลองดูนะ  :)  





1 ความคิดเห็น:

  1. เฮ้ย ชอบอ่า โดยเฉพาะตรงที่ใช้ ですけれども แทน はนี่เพิ่งรู้นะเนี่ย ขอบคุณนะยู :)))

    ตอบลบ