วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ตอนที่ 10: 「〜ね」เนะ

 เอาล่ะ วันนี้เราจะทำทำความรู้จักกับคำว่า 「〜ね」กันดีกว่า อาจจะเป็นคำง่ายๆทั่วๆไปที่ส่วนใหญ่ก็น่าจะรู้กันอยู่แล้ว(แต่บางทีเราก็ไม่ได้ใส่ใจว่ามันมายังไง เหมือนได้ยินเขาใช้มาก็ใช้ตาม 55+)

「〜ね」มีวิธีการใช้อยู่หลักๆ 5 วิธี (จากที่เราไปสืบมาอ่ะนะ)


1. ความเห็นเหมือนกัน 

        A:「今日は暑いね。」 วันนี้ร้อนจังเลยเนอะ
        B: 「うん、暑い。」อืม ร้อนเนอะ  

    อันนี้ง่ายๆ เบๆ รู้แล้ว แต่ว่านอกจากจะมีความเห็นเหมือนกันหรือรู้สึกเหมือนกันแล้วเนี่ย ก็สามารถใช้ในกรณีที่ถึงแม้จะเห็นไม่ตรงกัน แต่เราก็ยังรู้สึกว่าสิ่งๆนั้นดีอยู่(แบบว่าไม่สนใจความเห็นอีกฝ่าย อยู่ในโลกส่วนตัว ฮ่าา) อย่างเช่น

       A:「これいいねえ」อันนี้ดีจังเลยเนะ
  B:「もう帰ろうよ」กลับกันเถอะหน่า 
  A:「ふうん。やっぱりいいねえ」อืมมมม ดีจริงๆด้วยเนอะ

*แต่เขาบอกมาว่า ถึงจะเป็นโลกส่วนตัว แต่ถ้าใช้พูดคนเดียวแบบว่าไม่มีใครข้างๆก็จะประหลาดนะจ้ะ เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้ในกรณีนี้ต้องมีคนอยู่ข้างกายเท่านั้น อิอิ 
   


2. ใช้เพื่อถามยืนยัน (และนอนยัน #อ้่าวไม่เกี่ยวโทดๆ)  
     ในกรณีนี้จะขึ้นเสียงสูงตรงคำว่า 「ね」เช่น 

       A: あなたも行きますね? คุณก็จะไปด้วยสินะคะ?
       B: はい、行きます。ค่ะ ไปค่ะ 

   เมื่อใช้「ね」จะให้ความรู้สึกที่ว่าเราพอรู้มาว่าเขาจะไป แต่ว่ายังไม่แน่ใจว่าตกลงแล้วเขาจะไปหรือเปล่า ซึ่งจะแตกต่างกับการใช้ 「か」ตรงที่ว่า ถ้าเราถามว่า 「あなたも行きますか」หมายความว่าเราไม่รู้มาก่อนเลยว่าเขาจะไปหรือไม่ไป
 

3. ใช้ยืนยันความคิดของตัวเอง 
      มักจะใช้ในการตอบคำถาม เพื่อเป็นการใช้ในการยืนยันความคิดของตัวเองและต้องการให้อีกฝ่ายเห็นด้วยกับเรา จะใช้บอกสิ่งที่ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายตรงข้ามแบบนิ่มนวล เช่น 
       
       A: これでいいですか。 แบบนี้ดีหรือยังคะ
       B:これでだめですねえ。 แบบนี้ดูยังใช้ไม่ค่อยได้นะ
 
      ทีนี้ลองมาดูอีกตัวอย่างหนึ่งเปรียบเทียบกับการใช้ 「よ
   
       A: これでいいですか。 แบบนี้ดีหรือยังคะ
       B:これでだめです。แบบนี้ใช้ไม่ได้เลยล่ะ  

     ในทางกลับกันถ้าใช้「よ」จะแสดงความคิดที่ตรงกันข้ามของตัวเองออกมาอย่างชัดเจนมากกว่า และไม่นิ่มนวล ดังนั้นถ้าต้องการจะประกาศความเป็นตรงข้ามหรือเป็นเรื่องที่เรารู้แน่ๆก็ให้ใช้ 「よ」ได้เลย


4.ใช้เพื่อขอร้องหรือสั่งแบบนิ่มนวล
     ทำให้คำสั่งดูน่าฟังมากขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีความหมายถึงการต้องการคำยืนยันด้วย เช่น 「 早く起きなさいね。」
  


5.ใช้เพื่อแสดงความสงสัย 
     เติมหลังคำว่า 「か」ที่เป็นประโยคคำถาม แต่ไม่ใช่คำถามโดยตรงกับฝ่ายตรงข้าม เป็นอารมณ์แบบว่าลังเลอยู่ แล้วต้องการจะบอกให้อีกฝ่ายรู้ว่าเนี่ย เราลังเลอยู่นะ (แบบเชิงพูดคนเดียวอ่ะแหละ แต่จะแตกต่างกับ 〜なあ ตรงที่ 「ね」จะแสดงว่ารับรู้ว่ามีฝ่ายตรงข้ามฟังอยู่ด้วย ส่วน 「なあ」จะแบบพูดลอยๆคนเดียว) เช่น 先生、これでいいですかねえ。แบบลังเลอยู่ คิดว่าดีแล้ว แต่อยากรู้ว่าเซนเซคิดยังไง อยากจะให้เซนเซเห็นด้วย แต่ไม่กล้าพูดตรงๆ 


*สรุปว่าเท่าที่ได้ดูมา การใช้คำว่า 「ね」เนี่ย จะพูดคนเดียวไม่ด้ายยยย ต้องมีคนข้างกายอยู่เสมอ และเป็นการพูดเพื่อให้เกิดความนิ่มนวลมากขึ้นในบางสถาการณ์ได้ด้วย :)  



1 ความคิดเห็น:

  1. จะบอกว่าเรื่อง ね เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
    มีการใช้ที่หลากหลาย มากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
    เคยลองทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ รู้สึกได้เลยว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

    อ่านคำอธิบายการใช้ ね แล้วก็รู้สึกว่าเข้าใจง่ายดีนะ
    ถ้าจะแอบงงๆ อยู่บ้างก็คือตรง

    A:「これいいねえ」อันนี้ดีจังเลยเนะ
    B:「もう帰ろうよ」กลับกันเถอะหน่า
    A:「ふうん。やっぱりいいねえ」อืมมมม ดีจริงๆด้วยเนอะ

    ถามว่างงตรงไหน ถ้าดูเฉพาะตัวภาษาญี่ปุ่นคิดว่าไม่งง และพอเข้าใจ
    แต่พอเป็นภาษาไทยปุ๊บ เริ่มเกิดอาการตะหงิดใจเล็กน้อย
    ไม่ใช่เรื่องแปลกเท่าไร เพราะบางทีเราก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายด้วยภาษาไทยยังไงถึงจะเข้าใจ

    ก็คงเป็นเรื่องที่ต้องค้นคว้ากันต่อไป OTL

    ตอบลบ