หัวข้อของบล็อกเรื่องนี้เกิดขึ้นจาก Task ที่บอกว่าให้เขียนจดหมายไปขออนุญาติอาจารย์ส่งรายงานช้า ตอนเราเริ่มจดหมายก็นึกถึงคำว่า 「レポートの提出期限のことなのですが」จริงๆก็เป็นประโยคที่ใช้อยู่จนชินแล้วว่าต้องใช้ 「〜のですが」เวลาเกริ่นเรื่องมาก่อน แต่อยู่ๆก็เกิดสงสัยขึ้นมาว่าทำไมต้องใส่ แล้ว「のだ/んだ」ทำหน้าที่บอกอะไรในประโยคนั้น เอาล่ะ มาไขปริศนากันเถอะ〜
การใช้ 「のだ/んだ」
1. ใช้เมื่ออยากให้อีกฝ่ายอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น
การใช้ในกรณีนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และ イントネーション ด้วย เพราะมันสามารถทำให้ความรู้สึกในการใช้เปลี่ยนไปได้เลย ลองดูตัวอย่าง ดังนี้
สถานการณ์ที่ 1
A:こんにちは。いいお天気ですね。何をしているんですか。
(สวัสดีค่า อากาศดีนะคะ นี่กำลังทำอะไรอยู่หรอคะ?)
B:いい天気だから、チューリップの球根を植えようと思って。
(เพราะว่าอากาศดี ก็เลยคิดว่าจะปลูกทิวลิปนะค่ะ)
A:そうですか。いいですね。
A:そうですか。いいですね。
(อ๋อ อย่างงั้นหรอคะ ดีจังเลยค่ะ)
จะเห็นได้ว่าเป็นการถามเพื่อทักทาย อาจจะไม่ได้อยากรู้จริงๆว่าทำอะไรอยู่
สถานการณ์ที่ 2
A:Bさん、何をしているんですか。
A:Bさん、何をしているんですか。
(คุณบี ทำอะไรอยู่นะคะ)
B:いい天気だから、チューリップの球根を植えようと思って。
(เพราะว่าอากาศดี ก็เลยคิดว่าจะปลูกทิวลิปนะค่ะ)
B:いい天気だから、チューリップの球根を植えようと思って。
(เพราะว่าอากาศดี ก็เลยคิดว่าจะปลูกทิวลิปนะค่ะ)
A:ああ、そうでしたか。何をしてらっしゃるのかと思っていましたが。
(อ๋อ อย่างนั้นหรอคะ ก็นึกสงสัยว่ากำลังทำอะไรอยู่นะคะ)
(อ๋อ อย่างนั้นหรอคะ ก็นึกสงสัยว่ากำลังทำอะไรอยู่นะคะ)
ในกรณีนี้จะเห็นว่าคุณเอมีความอยากรู้จริงๆว่าคุณบีทำอะไรอยู่ อาจจะเห็นคุณบีก้มๆเงยๆอยู่ที่สวนหน้าบ้านก็เป็นได้ก็เลยสงสัยทำอะไรอยู่ก็เป็นได้
สถานการณ์ที่ 3
A:Bさん、何をしているんですか。
(คุณบี ทำอะไรอยู่นะคะ)
B:いい天気だから、チューリップの球根を植えようと思って。
(เพราะว่าอากาศดี ก็เลยคิดว่าจะปลูกทิวลิปนะค่ะ)
B:いい天気だから、チューリップの球根を植えようと思って。
(เพราะว่าอากาศดี ก็เลยคิดว่าจะปลูกทิวลิปนะค่ะ)
A:今球根など植えなくてもいいですよ。ちょっと早すぎますよ。
(ไม่ต้องปลูกตอนนี้ก็ได้นะ มันเร็วเกินไปนะ)
ในกรณีนี้ค่อนข้างมีความรู้สึกของการเตือนเข้าไปด้วย คุณเออาจจะรู้ว่าคุณบีกำลังปลูกทิวลิปอยู่ แต่คุณเอคิดว่าช่วงนี้เร็วไปเลยอยากจะเตือนคุณบีว่ายังไม่ต้องปลูกหรอก
2. เมื่ออธิบายสถานการณ์ให้อีกฝ่ายฟัง (ข้อแก้ตัว เหตุผล)
การอธิบายก็เช่นกัน ระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ลองดูตัวอย่างดังนี้
เมื่อคุณเอถามคุณบีว่าทำไมถึงมาสาย? (อยากได้คำอธิบาย) คุณบีจึงบอกว่า "ขอโทษค่ะ เพราะว่ารถบัสไม่มาซักทีนะค่ะ" ซึ่งเป็นการขอโทษที่สุภาพ เนื่องจากมีคำว่า "ごめんなさい” มาก่อน (จะเห็นได้ว่าคุณบีรู้สึกผิด เพราะก้มหัวอยู่)
คราวนี้ลองมาดูอีกตัวอย่างหนึ่ง
(credit : japan foundation)
คำถามเดิม แต่คราวนี้คุณบีไม่ขอโทษแล้ว กลับบอกว่า "เพราะรถบัสไม่มาค่ะ รถบัสมาช้าก็เลยช่วยไม่ได้นี่ค่ะ" แหม่ นี่ขนาดแปลเป็นภาษาไทยก็ไม่อยากให้อภัยเลยนะฮะ 「のだ/んだ」ใช้บอกเหตุผลได้ก็จริง แต่ถ้าใช้แบบนี้ก็จะรู้สึกว่ายึดความคิดของตัวเองมากเกินไป
3. ใช้กับเรื่องเป็นเหตุเป็นผลที่แสดงการยอมรับ (แบบว่า อ๋อ ต้องเป็นเพราะแบบนี้แน่ๆ)
สมมุมติว่าเกิดสงสัยอะไรสักอย่าง แล้วก็คิดได้ว่าต้องเป็นแบบนี้แน่ๆ ก็จะใช้ 「のだ/んだ」
Ex: 変な男がうろうろしていた。だから、うちの犬が吠えたのだ。
(อ๋อออ ต้องเป็นเพราะมีผู้ชายแปลกๆมาป้วนเปี้ยนอยู่ หมาเลยเห่านี่เอง)
แต่ถ้าหากอยากให้ความรู้สึกที่คาดคะเนมากขึ้นก็จะใช้ 「のだろう/んだろう」หรือ「のかもしれない」แทน
4. ใช้ในการอธิบายสถานการณ์อย่างสุภาพ เพื่อในประโยคหลังจะขออนุญาติทำอะไรบางอย่าง
แฮ่ อันนี้แหละ ที่ใช้กันบ่อยเวลาเกริ่นนำเพื่อจะขอทำอะไรบางอย่าง เพราะฉะนั้นข้อสงสัยว่าทำไมต้องใช้ก็ได้เข้าใจแล้วว่า ที่ต้องใช้เพราะเป็นการอธิบายสถานการณ์ให้อีกฝ่ายฟัง
Ex: ちょっとお話があるんですが、今よろしいですか。
จบด้วยความกระจ่าง และไปนอนนนนนน :)
เท่าที่ตามอ่านมา ยูอธิบายถึงความแตกต่างที่สับสนได้อย่างเข้าใจ พร้อมยกตัวอย่างที่เห็นชัดดี จัดเรียงหน้าก็สวยดูง่ายดีค่า
ตอบลบ明けましておめでとうございます。
ตอบลบ「のだ/んだ」の使い方は難しいですよね。上に書いてある分析を見て、なるほどなあと思いました。
1 のチューリップの話ですが、「何をして(い)るんですか」は使っても、目の前にいる相手に対して「何をしていますか」はほとんど使わないだろうと思いました。初めの例のように「挨拶」の一部として使うような場合でも、挨拶をしようということは、何らかの関心を相手に対して持っているのでしょうか。難しいですね。