ลองมาดูกันทีละตัวดีกว่าว่ามีหลักการใช้อย่างไรบ้าง
(credit จากเว็บของ Japan Foundation จ้ะ)
พอดูตารางแล้วก็ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าแบ่งแยกการใช้อย่างไร เราจะใช้ 「そうだ」เมื่อสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราสนใจมากและเป็นสถานการณ์ที่เราเผชิญหน้าตรงๆ แต่ถ้ามีความสนใจหรือไม่ใช่สถานการณ์ที่เผชิญหน้าตรงๆก็จะใช้ 「ようだ」และ 「らしい」ตามลำดับ การใช้จะเปลี่ยนไปตามสถานภาพและความรู้สึกของเรา จากตัวอย่างที่เขายกมาเป็นประโยคที่เข้าใจง่ายๆ คือ
このケーキは美味しそうだ。
このケーキは美味しいようだ。
このケーキは美味しいらしいだ。
เมื่อลองแปลทั้ง 3 ประโยคนี้ออกมาเป็นภาษาไทยแล้ว ก็คงจะแปลได้เหมือนกันหมดว่า "เค้กนี้ดูท่าทางน่าอร่อย" พอเป็นเช่นนี้ ก็เลยทำให้คนไทย (และคนต่างชาติอื่นๆ) ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่สับสนว่าควรจะใช้ตัวไหน เพราะการใช้ภาษาของคนที่เรียนภาษาที่ 2 หรือ 3 มักจะได้รับผลกระทบจากภาษาแม่ กล่าวคือจะแปลจากภาษาแม่มาเป็นภาษาที่ตัวเองเรียนอยู่ เรียกว่า 言語転移 ตามที่ได้เรียนไปในห้อง
言語転移 จะมีสองแบบคือ 正の転移(แบบดี) กับ 負の転移(แบบไม่ดี) ในกรณีนี้เป็นแบบไม่ดี เพราะใช้การแปลเป็นหลักในการเรียนภาษา ซึ่งเรียกว่า 文法訳読法 และเพื่อไม่ให้เกิด 負の転移 เราจึงไม่ควรแปลจากภาษาแม่มาเป็นภาษาที่เราเรียนอยู่ #ซึ่งเป็นอะไรที่ทำยากมว๊ากกก
นอกเรื่องไปนิด กลับมาๆ เอาละ ตามที่ไปอ่านมาเลย เขาก็อธิบายโดยแยกเป็นสองหัวข้อตามที่มีในตารางด้านบน ดังนี้
1) 情報取得時の状況
เอาล่ะ มีคน 3 แบบที่เกี่ยวข้องกับเค้กชิ้นนี้ สมมุติว่าคนแรกชื่อคุณหนึ่ง คนถัดมาชื่อคุณสอง และคนสุดท้ายชื่อคุณสาม
คุณหนึ่งอยากจะเซอร์ไพร์สวันเกิดแฟนสุดที่รัก เลยไปซื้อเค้กมา พอกลับบ้านก็เอาเค้กออกมาจัดเตรียมให้คุณแฟน คุณหนึ่งเห็นเค้กของจริง ชัดๆ เต็มตาๆ แถมได้กลิ่นหอมของเค้กอีกต่างหาก นอกจากนี้คุณหนึ่งอาจจะสามารถสัมผัสกับเค้กชิ้นนั้นได้ด้วย(ถ้าไม่กลัวเละก่อน)ในกรณีนี้คุณหนึ่งจะบอกว่า 「このケーキは美味しそうだ!」ได้มั้ยคะ? คำตอบคือ ได้! เมื่อลองย้อนกลับไปดูที่ตารางจะพบว่าในกรณีที่เรา 直接 เนี่ย จะใช้คำว่า そう
ที่นี้เรามาดูคุณสองบ้างดีกว่า คุณสองเนี่ยในขณะที่เดินกลับบ้านผ่านร้านเค้กที่คุณหนึ่งไปซื้อมาเมื่อกี๊ มองเห็นโปสเตอร์หน้าร้าน มีรูปเค้กสีสันสวยงามน่ากินแปะอยู่ เมื่อมองไปก็เห็นเค้กตั้งอยู่ในตู้ในร้าน คุณสองเลยร้องออกมาว่า 「このケーキは美味しいようだ」เมื่อลองเลื่อนขึ้นไปดูตารางก็พบว่าจะมีความห่างจากเค้กมากกว่าคุณหนึ่งนิดนึง เพราะเห็นได้ด้วยตา แต่ไม่ได้กลิ่นหรือไม่ได้สัมผัสนั่นเอง
คุณสามวันนี้แวะไปเล่นที่บ้านคุณสอง คุณสองเลยเล่าว่า วันนี้ฉันเดินผ่านร้านเค้กนะ มีเค้กสีสวยมาก เป็นเค้กรสช็อกโกแล็ตนะ แล้วข้างบนก็มีสตรอเบอรี่ลูกโต๊โตอยู่ด้วย แล้วข้างในเค้กนะเป็นไอศครีมละ เมื่อคุณสามได้ฟังก็เลยพูดขึ้นมาว่า 「そのケーキは美味しいらしいね」เพราะคุณสามไม่ได้เห็นอะไรเกี่ยวกับเค้กเลย ได้แค่ฟังมาอย่างเดียวเท่านั้น
2) 関心の度合い
จากตัวอย่างเมื่อกี๊ก็พอจะเข้าใจได้มากขึ้นแล้ว นอกจากที่กล่าวไปข้างบนแล้วระดับความสนใจก็มีผลกับการใช้นะจ้ะ เราจะยกกรณีคุณสามมาแล้วกัน
อย่างที่บอกไป คุณสามได้ฟังเรื่องราวเค้กอันน่ากินของคุณสองไป คุณสามฟังปุ๊ปตาลุกวาว อยากจะไปซื้อกินในทันที ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่าคุณสามสนใจในเค้กชิ้นนี้ม๊ากกกก(น่าจะอารมณ์ประมาณว่าแค่ฟังก็ราวกับเห็นของจริงอยู่ตรงหน้า) คุณสามก็สามารถใช้ 「美味しいそう」ได้เช่นเดียวกัน แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณสามเกิดฟังแล้ว อ๋อหรอ อิ่มแล้ว เฉยๆ ไม่อยากกิน แต่คุณสามไม่อยากทำให้เพื่อนเสียน้ำใจในการเล่า คุณสามเลยบอกว่า 「美味しいらしいね」แทน
*อย่างไรก็ตาม การใช้คำเหล่านี้ก็ไม่ได้มีข้อกำหนดที่ชัดเจนและตายตัว ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรามากกว่าว่ารู้สึกใกล้ไกลแค่ไหน :)
ทีนี้ลองมาวิเคราะห์ความผิดพลาดที่เราเคยทำไว้ดู
1. 道を聞きたいらしいです。(อันนี้มาจากการ์ตูนสี่ช่องที่เราเห็นภาพ)
เนื่องจากว่าเป็นการเล่าเรื่องราวที่เราเห็นภาพอยู่ตรงหน้า เพราะฉะนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ใช้ らしい ไม่ได้ เพราะ らしい น่าจะเป็นเรื่องที่ฟังมา ตอนนั้นเราเปลี่ยนไปใช้ 〜ようだ แต่เราว่าจริงๆแล้วถ้าเป็นการเล่าเรื่องให้เกิดอรรถรสมากขึ้น น่าจะใช้คำว่า 〜そうだ มากกว่า เพราะจะให้อารมณ์ว่าเราไปยืนอยู่ตรงสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ
2. 彼氏に捨てられるのが怖いようです。(มาจากการ์ตูนสี่ช่องเช่นเดียวกัน)
เมื่อวานที่เราแก้ไปคือแก้เป็น そうだ แต่หลังจากที่เรามาเขียนบล็อกเรื่องนี้แล้ว เรารู้สึกว่ามันไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้นะ (=____=) มันน่าจะแก้เป็น 捨てられるのが怖がります。มากกว่า #หรือแก้แล้วผิดหนักกว่าเดิมหว่า 555
ตอนนี้เราก็เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้นละนะ หวังว่าจะไม่ผิดอีก (. .) จะจำตารางข้างบนเอาไว้ให้ดี หุหุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น