วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ตอนที่ 10: 「〜ね」เนะ

 เอาล่ะ วันนี้เราจะทำทำความรู้จักกับคำว่า 「〜ね」กันดีกว่า อาจจะเป็นคำง่ายๆทั่วๆไปที่ส่วนใหญ่ก็น่าจะรู้กันอยู่แล้ว(แต่บางทีเราก็ไม่ได้ใส่ใจว่ามันมายังไง เหมือนได้ยินเขาใช้มาก็ใช้ตาม 55+)

「〜ね」มีวิธีการใช้อยู่หลักๆ 5 วิธี (จากที่เราไปสืบมาอ่ะนะ)


1. ความเห็นเหมือนกัน 

        A:「今日は暑いね。」 วันนี้ร้อนจังเลยเนอะ
        B: 「うん、暑い。」อืม ร้อนเนอะ  

    อันนี้ง่ายๆ เบๆ รู้แล้ว แต่ว่านอกจากจะมีความเห็นเหมือนกันหรือรู้สึกเหมือนกันแล้วเนี่ย ก็สามารถใช้ในกรณีที่ถึงแม้จะเห็นไม่ตรงกัน แต่เราก็ยังรู้สึกว่าสิ่งๆนั้นดีอยู่(แบบว่าไม่สนใจความเห็นอีกฝ่าย อยู่ในโลกส่วนตัว ฮ่าา) อย่างเช่น

       A:「これいいねえ」อันนี้ดีจังเลยเนะ
  B:「もう帰ろうよ」กลับกันเถอะหน่า 
  A:「ふうん。やっぱりいいねえ」อืมมมม ดีจริงๆด้วยเนอะ

*แต่เขาบอกมาว่า ถึงจะเป็นโลกส่วนตัว แต่ถ้าใช้พูดคนเดียวแบบว่าไม่มีใครข้างๆก็จะประหลาดนะจ้ะ เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้ในกรณีนี้ต้องมีคนอยู่ข้างกายเท่านั้น อิอิ 
   


2. ใช้เพื่อถามยืนยัน (และนอนยัน #อ้่าวไม่เกี่ยวโทดๆ)  
     ในกรณีนี้จะขึ้นเสียงสูงตรงคำว่า 「ね」เช่น 

       A: あなたも行きますね? คุณก็จะไปด้วยสินะคะ?
       B: はい、行きます。ค่ะ ไปค่ะ 

   เมื่อใช้「ね」จะให้ความรู้สึกที่ว่าเราพอรู้มาว่าเขาจะไป แต่ว่ายังไม่แน่ใจว่าตกลงแล้วเขาจะไปหรือเปล่า ซึ่งจะแตกต่างกับการใช้ 「か」ตรงที่ว่า ถ้าเราถามว่า 「あなたも行きますか」หมายความว่าเราไม่รู้มาก่อนเลยว่าเขาจะไปหรือไม่ไป
 

3. ใช้ยืนยันความคิดของตัวเอง 
      มักจะใช้ในการตอบคำถาม เพื่อเป็นการใช้ในการยืนยันความคิดของตัวเองและต้องการให้อีกฝ่ายเห็นด้วยกับเรา จะใช้บอกสิ่งที่ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายตรงข้ามแบบนิ่มนวล เช่น 
       
       A: これでいいですか。 แบบนี้ดีหรือยังคะ
       B:これでだめですねえ。 แบบนี้ดูยังใช้ไม่ค่อยได้นะ
 
      ทีนี้ลองมาดูอีกตัวอย่างหนึ่งเปรียบเทียบกับการใช้ 「よ
   
       A: これでいいですか。 แบบนี้ดีหรือยังคะ
       B:これでだめです。แบบนี้ใช้ไม่ได้เลยล่ะ  

     ในทางกลับกันถ้าใช้「よ」จะแสดงความคิดที่ตรงกันข้ามของตัวเองออกมาอย่างชัดเจนมากกว่า และไม่นิ่มนวล ดังนั้นถ้าต้องการจะประกาศความเป็นตรงข้ามหรือเป็นเรื่องที่เรารู้แน่ๆก็ให้ใช้ 「よ」ได้เลย


4.ใช้เพื่อขอร้องหรือสั่งแบบนิ่มนวล
     ทำให้คำสั่งดูน่าฟังมากขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีความหมายถึงการต้องการคำยืนยันด้วย เช่น 「 早く起きなさいね。」
  


5.ใช้เพื่อแสดงความสงสัย 
     เติมหลังคำว่า 「か」ที่เป็นประโยคคำถาม แต่ไม่ใช่คำถามโดยตรงกับฝ่ายตรงข้าม เป็นอารมณ์แบบว่าลังเลอยู่ แล้วต้องการจะบอกให้อีกฝ่ายรู้ว่าเนี่ย เราลังเลอยู่นะ (แบบเชิงพูดคนเดียวอ่ะแหละ แต่จะแตกต่างกับ 〜なあ ตรงที่ 「ね」จะแสดงว่ารับรู้ว่ามีฝ่ายตรงข้ามฟังอยู่ด้วย ส่วน 「なあ」จะแบบพูดลอยๆคนเดียว) เช่น 先生、これでいいですかねえ。แบบลังเลอยู่ คิดว่าดีแล้ว แต่อยากรู้ว่าเซนเซคิดยังไง อยากจะให้เซนเซเห็นด้วย แต่ไม่กล้าพูดตรงๆ 


*สรุปว่าเท่าที่ได้ดูมา การใช้คำว่า 「ね」เนี่ย จะพูดคนเดียวไม่ด้ายยยย ต้องมีคนข้างกายอยู่เสมอ และเป็นการพูดเพื่อให้เกิดความนิ่มนวลมากขึ้นในบางสถาการณ์ได้ด้วย :)  



วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ตอนที่ 9 : 「のだ/んだ」ใช้ตอนไหนอ่ะ?

  แหม พอใกล้ถึงวันส่งบล็อกครั้งแรกก็อัพรัวกันทีเดียวเชียว ฮ่าาา
หัวข้อของบล็อกเรื่องนี้เกิดขึ้นจาก Task ที่บอกว่าให้เขียนจดหมายไปขออนุญาติอาจารย์ส่งรายงานช้า ตอนเราเริ่มจดหมายก็นึกถึงคำว่า 「レポートの提出期限のことなですが」จริงๆก็เป็นประโยคที่ใช้อยู่จนชินแล้วว่าต้องใช้ 「〜のですが」เวลาเกริ่นเรื่องมาก่อน แต่อยู่ๆก็เกิดสงสัยขึ้นมาว่าทำไมต้องใส่ แล้ว「のだ/んだ」ทำหน้าที่บอกอะไรในประโยคนั้น เอาล่ะ มาไขปริศนากันเถอะ〜 

การใช้ 「のだ/んだ」
1. ใช้เมื่ออยากให้อีกฝ่ายอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น
        การใช้ในกรณีนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และ イントネーション ด้วย เพราะมันสามารถทำให้ความรู้สึกในการใช้เปลี่ยนไปได้เลย ลองดูตัวอย่าง ดังนี้
      
   สถานการณ์ที่ 1 
           A:こんにちは。いいお天気ですね。何をしているんですか
               (สวัสดีค่า อากาศดีนะคะ นี่กำลังทำอะไรอยู่หรอคะ?) 
   B:いい天気だから、チューリップの球根を植えようと思って。
                   (เพราะว่าอากาศดี ก็เลยคิดว่าจะปลูกทิวลิปนะค่ะ)
   A:そうですか。いいですね。
                   (อ๋อ อย่างงั้นหรอคะ ดีจังเลยค่ะ)

      จะเห็นได้ว่าเป็นการถามเพื่อทักทาย อาจจะไม่ได้อยากรู้จริงๆว่าทำอะไรอยู่  


     สถานการณ์ที่ 2
       A:Bさん、何をしているんですか
                    (คุณบี ทำอะไรอยู่นะคะ)
   B:いい天気だから、チューリップの球根を植えようと思って。
         (เพราะว่าอากาศดี ก็เลยคิดว่าจะปลูกทิวลิปนะค่ะ)
         A:ああ、そうでしたか。何をしてらっしゃるのかと思っていましたが。
                   (อ๋อ อย่างนั้นหรอคะ ก็นึกสงสัยว่ากำลังทำอะไรอยู่นะคะ)
    
    ในกรณีนี้จะเห็นว่าคุณเอมีความอยากรู้จริงๆว่าคุณบีทำอะไรอยู่ อาจจะเห็นคุณบีก้มๆเงยๆอยู่ที่สวนหน้าบ้านก็เป็นได้ก็เลยสงสัยทำอะไรอยู่ก็เป็นได้ 


     สถานการณ์ที่ 3 
       A:Bさん、何をしているんですか
                   (คุณบี ทำอะไรอยู่นะคะ)
   B:いい天気だから、チューリップの球根を植えようと思って。
         (เพราะว่าอากาศดี ก็เลยคิดว่าจะปลูกทิวลิปนะค่ะ)
         A:今球根など植えなくてもいいですよ。ちょっと早すぎますよ。
     (ไม่ต้องปลูกตอนนี้ก็ได้นะ มันเร็วเกินไปนะ)
    
   ในกรณีนี้ค่อนข้างมีความรู้สึกของการเตือนเข้าไปด้วย คุณเออาจจะรู้ว่าคุณบีกำลังปลูกทิวลิปอยู่ แต่คุณเอคิดว่าช่วงนี้เร็วไปเลยอยากจะเตือนคุณบีว่ายังไม่ต้องปลูกหรอก 
     

2. เมื่ออธิบายสถานการณ์ให้อีกฝ่ายฟัง (ข้อแก้ตัว เหตุผล) 
   การอธิบายก็เช่นกัน ระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ลองดูตัวอย่างดังนี้ 
           
(credit : japan foundation)
 
    เมื่อคุณเอถามคุณบีว่าทำไมถึงมาสาย? (อยากได้คำอธิบาย) คุณบีจึงบอกว่า "ขอโทษค่ะ เพราะว่ารถบัสไม่มาซักทีนะค่ะ" ซึ่งเป็นการขอโทษที่สุภาพ เนื่องจากมีคำว่า "ごめんなさい” มาก่อน (จะเห็นได้ว่าคุณบีรู้สึกผิด เพราะก้มหัวอยู่)

   คราวนี้ลองมาดูอีกตัวอย่างหนึ่ง 

                    
(credit : japan foundation)

     คำถามเดิม แต่คราวนี้คุณบีไม่ขอโทษแล้ว กลับบอกว่า "เพราะรถบัสไม่มาค่ะ รถบัสมาช้าก็เลยช่วยไม่ได้นี่ค่ะ" แหม่ นี่ขนาดแปลเป็นภาษาไทยก็ไม่อยากให้อภัยเลยนะฮะ 「のだ/んだ」ใช้บอกเหตุผลได้ก็จริง แต่ถ้าใช้แบบนี้ก็จะรู้สึกว่ายึดความคิดของตัวเองมากเกินไป 

3. ใช้กับเรื่องเป็นเหตุเป็นผลที่แสดงการยอมรับ (แบบว่า อ๋อ ต้องเป็นเพราะแบบนี้แน่ๆ) 
      สมมุมติว่าเกิดสงสัยอะไรสักอย่าง แล้วก็คิดได้ว่าต้องเป็นแบบนี้แน่ๆ ก็จะใช้ 「のだ/んだ」
          Ex:   変な男がうろうろしていた。だから、うちの犬が吠えただ。
               (อ๋อออ ต้องเป็นเพราะมีผู้ชายแปลกๆมาป้วนเปี้ยนอยู่ หมาเลยเห่านี่เอง)
     แต่ถ้าหากอยากให้ความรู้สึกที่คาดคะเนมากขึ้นก็จะใช้ 「のだろう/んだろう」หรือ「のかもしれない」แทน 

4. ใช้ในการอธิบายสถานการณ์อย่างสุภาพ เพื่อในประโยคหลังจะขออนุญาติทำอะไรบางอย่าง 
     แฮ่ อันนี้แหละ ที่ใช้กันบ่อยเวลาเกริ่นนำเพื่อจะขอทำอะไรบางอย่าง เพราะฉะนั้นข้อสงสัยว่าทำไมต้องใช้ก็ได้เข้าใจแล้วว่า ที่ต้องใช้เพราะเป็นการอธิบายสถานการณ์ให้อีกฝ่ายฟัง 
        Ex: ちょっとお話があるですが、今よろしいですか。

จบด้วยความกระจ่าง และไปนอนนนนนน :)  
       
    

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ตอนที่ 8 :「そう」「よう」「らしい」ใช้อันไหนดีล่ะ?

 ทั้งที่ก็เรียนกันมาหมดแล้ว แต่เอาเข้าจริงพอถึงเวลาใช้ที่จวนตัวกลับพูดให้ตรงตามหลักไม่ได้ (= ='') แล้วหลักที่ว่านั้นก็จำได้ลางๆเท่านั้น เหตุที่อยากจะเขียนเรื่องนี้ มันสืบมาจากการที่ทำ task ในห้องแล้วผิดเรื่องแบบนี้มาสองรอบแล้วข่าาาา ทำไมไม่จำก็ไม่รู้ เผื่อเขียนแล้วจะจำได้ขึ้นมาบ้าง 5555

ลองมาดูกันทีละตัวดีกว่าว่ามีหลักการใช้อย่างไรบ้าง
 
(credit จากเว็บของ Japan Foundation จ้ะ)

  พอดูตารางแล้วก็ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าแบ่งแยกการใช้อย่างไร เราจะใช้ 「そうだ」เมื่อสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราสนใจมากและเป็นสถานการณ์ที่เราเผชิญหน้าตรงๆ แต่ถ้ามีความสนใจหรือไม่ใช่สถานการณ์ที่เผชิญหน้าตรงๆก็จะใช้ 「ようだ」และ 「らしい」ตามลำดับ  การใช้จะเปลี่ยนไปตามสถานภาพและความรู้สึกของเรา จากตัวอย่างที่เขายกมาเป็นประโยคที่เข้าใจง่ายๆ คือ 

このケーキは美味しそうだ。
このケーキは美味しいようだ。
このケーキは美味しいらしいだ。

 เมื่อลองแปลทั้ง 3 ประโยคนี้ออกมาเป็นภาษาไทยแล้ว ก็คงจะแปลได้เหมือนกันหมดว่า "เค้กนี้ดูท่าทางน่าอร่อย" พอเป็นเช่นนี้ ก็เลยทำให้คนไทย (และคนต่างชาติอื่นๆ) ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่สับสนว่าควรจะใช้ตัวไหน เพราะการใช้ภาษาของคนที่เรียนภาษาที่ 2 หรือ 3 มักจะได้รับผลกระทบจากภาษาแม่ กล่าวคือจะแปลจากภาษาแม่มาเป็นภาษาที่ตัวเองเรียนอยู่ เรียกว่า 言語転移 ตามที่ได้เรียนไปในห้อง 
   言語転移 จะมีสองแบบคือ 正の転移(แบบดี) กับ 負の転移(แบบไม่ดี) ในกรณีนี้เป็นแบบไม่ดี เพราะใช้การแปลเป็นหลักในการเรียนภาษา ซึ่งเรียกว่า 文法訳読法  และเพื่อไม่ให้เกิด 負の転移 เราจึงไม่ควรแปลจากภาษาแม่มาเป็นภาษาที่เราเรียนอยู่ #ซึ่งเป็นอะไรที่ทำยากมว๊ากกก 

   นอกเรื่องไปนิด กลับมาๆ เอาละ ตามที่ไปอ่านมาเลย เขาก็อธิบายโดยแยกเป็นสองหัวข้อตามที่มีในตารางด้านบน ดังนี้ 

1) 情報取得時の状況
       เอาล่ะ มีคน 3 แบบที่เกี่ยวข้องกับเค้กชิ้นนี้ สมมุติว่าคนแรกชื่อคุณหนึ่ง คนถัดมาชื่อคุณสอง และคนสุดท้ายชื่อคุณสาม 
       คุณหนึ่งอยากจะเซอร์ไพร์สวันเกิดแฟนสุดที่รัก เลยไปซื้อเค้กมา พอกลับบ้านก็เอาเค้กออกมาจัดเตรียมให้คุณแฟน คุณหนึ่งเห็นเค้กของจริง ชัดๆ เต็มตาๆ แถมได้กลิ่นหอมของเค้กอีกต่างหาก นอกจากนี้คุณหนึ่งอาจจะสามารถสัมผัสกับเค้กชิ้นนั้นได้ด้วย(ถ้าไม่กลัวเละก่อน)ในกรณีนี้คุณหนึ่งจะบอกว่า 「このケーキは美味しそうだ!」ได้มั้ยคะ? คำตอบคือ ได้! เมื่อลองย้อนกลับไปดูที่ตารางจะพบว่าในกรณีที่เรา 直接 เนี่ย จะใช้คำว่า そう
  ที่นี้เรามาดูคุณสองบ้างดีกว่า คุณสองเนี่ยในขณะที่เดินกลับบ้านผ่านร้านเค้กที่คุณหนึ่งไปซื้อมาเมื่อกี๊ มองเห็นโปสเตอร์หน้าร้าน มีรูปเค้กสีสันสวยงามน่ากินแปะอยู่ เมื่อมองไปก็เห็นเค้กตั้งอยู่ในตู้ในร้าน คุณสองเลยร้องออกมาว่า 「このケーキは美味しいようだ」เมื่อลองเลื่อนขึ้นไปดูตารางก็พบว่าจะมีความห่างจากเค้กมากกว่าคุณหนึ่งนิดนึง เพราะเห็นได้ด้วยตา แต่ไม่ได้กลิ่นหรือไม่ได้สัมผัสนั่นเอง 
       คุณสามวันนี้แวะไปเล่นที่บ้านคุณสอง คุณสองเลยเล่าว่า วันนี้ฉันเดินผ่านร้านเค้กนะ มีเค้กสีสวยมาก เป็นเค้กรสช็อกโกแล็ตนะ แล้วข้างบนก็มีสตรอเบอรี่ลูกโต๊โตอยู่ด้วย แล้วข้างในเค้กนะเป็นไอศครีมละ เมื่อคุณสามได้ฟังก็เลยพูดขึ้นมาว่า 「そのケーキは美味しいらしいね」เพราะคุณสามไม่ได้เห็นอะไรเกี่ยวกับเค้กเลย ได้แค่ฟังมาอย่างเดียวเท่านั้น 

2)  関心の度合い
  จากตัวอย่างเมื่อกี๊ก็พอจะเข้าใจได้มากขึ้นแล้ว นอกจากที่กล่าวไปข้างบนแล้วระดับความสนใจก็มีผลกับการใช้นะจ้ะ เราจะยกกรณีคุณสามมาแล้วกัน
    อย่างที่บอกไป คุณสามได้ฟังเรื่องราวเค้กอันน่ากินของคุณสองไป คุณสามฟังปุ๊ปตาลุกวาว อยากจะไปซื้อกินในทันที ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่าคุณสามสนใจในเค้กชิ้นนี้ม๊ากกกก(น่าจะอารมณ์ประมาณว่าแค่ฟังก็ราวกับเห็นของจริงอยู่ตรงหน้า) คุณสามก็สามารถใช้ 「美味しいそう」ได้เช่นเดียวกัน แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณสามเกิดฟังแล้ว อ๋อหรอ อิ่มแล้ว เฉยๆ ไม่อยากกิน แต่คุณสามไม่อยากทำให้เพื่อนเสียน้ำใจในการเล่า คุณสามเลยบอกว่า 「美味しいらしいね」แทน  

*อย่างไรก็ตาม การใช้คำเหล่านี้ก็ไม่ได้มีข้อกำหนดที่ชัดเจนและตายตัว ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรามากกว่าว่ารู้สึกใกล้ไกลแค่ไหน :)  

ทีนี้ลองมาวิเคราะห์ความผิดพลาดที่เราเคยทำไว้ดู 
1. 道を聞きたいらしいです。(อันนี้มาจากการ์ตูนสี่ช่องที่เราเห็นภาพ) 
    เนื่องจากว่าเป็นการเล่าเรื่องราวที่เราเห็นภาพอยู่ตรงหน้า เพราะฉะนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ใช้ らしい ไม่ได้ เพราะ らしい น่าจะเป็นเรื่องที่ฟังมา ตอนนั้นเราเปลี่ยนไปใช้  〜ようだ แต่เราว่าจริงๆแล้วถ้าเป็นการเล่าเรื่องให้เกิดอรรถรสมากขึ้น น่าจะใช้คำว่า 〜そうだ มากกว่า เพราะจะให้อารมณ์ว่าเราไปยืนอยู่ตรงสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ 

2. 彼氏に捨てられるのが怖いようです。(มาจากการ์ตูนสี่ช่องเช่นเดียวกัน) 
   เมื่อวานที่เราแก้ไปคือแก้เป็น そうだ แต่หลังจากที่เรามาเขียนบล็อกเรื่องนี้แล้ว เรารู้สึกว่ามันไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้นะ (=____=) มันน่าจะแก้เป็น 捨てられるのが怖がります。มากกว่า #หรือแก้แล้วผิดหนักกว่าเดิมหว่า 555  

 ตอนนี้เราก็เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้นละนะ หวังว่าจะไม่ผิดอีก (. .) จะจำตารางข้างบนเอาไว้ให้ดี หุหุ 
      

ตอนที่ 7: 飛行機 

 งานชิ้นนี้ก็เป็นงานที่สั่งวันเดียวกับงานของตอนที่แล้ว ซึ่งก็ไม่ได้มาเรียนอีกแหละค่ะ ;_; แล้วที่ตลกมาก็คือเห็นภาพแล้วมองเรื่องไม่เหมือนคนอื่นเขา 5555+ เนื่องจากกลับมาทำที่บ้านคนเดียว โดดเดี่ยว น่าสงสาร(จริงๆแล้วไม่น่าสงสารเพราะไม่ยอมมาเรียน =_=)  ก็เลยได้เรื่องมาเป็นแบบนี้ 

โปรดดูภาพประกอบ 

      
(ภาพนี้ก็ภินันทนาการจากเพื่อนฝนเช่นเดิม ขอกราบขอบพระคุณ)

     男の人が空港にいます。家族か友達か知り合いを送りに来たようです空港の窓から飛行機を見て、バイバイと手を振っています。その後、家に帰って、テレビのニュースからその飛行機が落ちたことを知って、びっくりしました。

 ได้ออกมาเพียง 3 บรรทัด (. .)  เลยมีแก้น้อย ฮ่าาาา  ดูภาพครั้งแรกนึกว่าไปส่งเพื่อน แล้วแบบเครื่องบินตก แต่ที่ไหนได้ จริงๆคือเขาไปขึ้นเครื่องไม่ทัน แล้วเครื่องบินลำนั้นก็ตก ก็ถือว่าเขาโชคดี แหม่ ก็ดูภาพแรกสิขรับ นึกว่าโบกมือบ๊าย บาย 555  อ่ะๆ มาดูจุดบกพร่องก่อนแล้วกัน เนื้อเรื่องผิดค่อยว่ากันใหม่ 

1. 送りに来たようです
 อาจารย์แก้มาให้เรียบร้อยค่ะ ว่าเป็น 見送り นั่นสินะ คำของเขาสั้นๆก็มีอยู่แล้ว แต่ที่พูดออกมาเป็นแบบนี้เพราะใช้แปลจากภาษาไทยเป็นภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง ยังคงคิดเป็นภาษาญี่ปุ่นเลยไม่ได้ T^T

2. 空港の窓 
  อาจารย์ให้ ? มา จริงๆแล้วก็อยากจะบอกว่ามองเครื่องบินจากหน้าต่างสนามบิน (แบบว่าอยู่ในตึกแล้วมองออกไป) แต่นี่คงจะเป็นปัญหาการแปลจากภาษาไทยไปเป็นภาษาญี่ปุ่นอีกแล้วสินะ ก็น่าจะแก้ได้เป็น 建物から飛行機を見て มากกว่า 

3. 振っています。 
 ผันกริยาอีกแล้วค่ะผันกริยา แหม่ ก็บอกอยู่ว่าเป็นการเล่าเรื่องอดีต ใช้ ています ไม่ด้ายยยยย〜จึงควรจะเป็น 振ってました ค่ะ 

เอาละค่ะ เรามาแก้ให้เป็นเรื่องราวเหมือนเพื่อนๆกันเถอะ 555 

 昨日、外国に行く予定があるけど、大渋滞で飛行機に間に合わなかった。飛行機の搭乗ゲートに着いた同時に、その飛行機が空を飛んで行ってしまった。悔しかったけど、仕方がなくて、家に帰った。その夜、いつものようにテレビのニュースを見た。何のニュース
が出たと思う?その飛行機のニュースだよ。その飛行機が海に落ちて、たくさんの人が亡くなったって。私は超びっくりしたよ。その飛行機に乗ったら、もうここに話さないね。病院か天国にいるかもしれない。

 บรรทัดเพิ่มมาหน่อย แต่ต่างจากเดิมหมดเลย เหมือนเขียนใหม่หมด ฮ่าาาา ก็ไม่รู้ว่าจะมีผิดมากขึ้นหรือเปล่านะ แต่เนื้อความน่าจะดีกว่าเดิมแหละ :P ก็ตอนแรกสามบรรทัดเองง่ะ 

   วันนี้ไม่ไหวแล้วววว จะตีสองละ >.<  นอนดีกว่าาา ส่วนของงานเสร็จหมดแล้ว เดี๋ยวค่อยมาอัพส่วนของตัวเองเล่นพรุ่งนี้ :)  


 

ตอนที่ 6: 秘密

 เรื่องมีอยู่ว่า... 

 
 (ขอขอบคุณภาพจากเพื่อนฝน เนื่องจากวันนั้นไม่ได้ไปเรียน ;_; ) 

 เนื่องจากไม่ได้ไปเรียนในวันที่เขาทำงานชิ้นนี้กันจึงต้องมาพูดคนเดียวที่บ้านโดยไม่ได้ฟังคำอธิบายใดๆเลย และได้ออกมาดังนี้ 

    男の子と女の子がいます。二人は恋人同士です。女の子は整形手術して、美人になります。そのおかげで、いい彼氏ができました。ある日女の子が彼氏に自分の昔の写真を見られてしまって、不安になりました。彼氏に捨てられるのが怖いようです。でも、彼氏が「なんだ、そんなこと気にしなくていいのに」と言って、自分の髪を外しました。実は彼は髪の毛が全然ないから、女の子の整形のこと気にしません。女の子そのことを知って、じっとになりました

เอาล่ะ เรามาดูกันทีละจุดดีกว่า :3 
1. 美人になります
 คาดว่าน่าจะผิดเพราะการผันกริยา ผิดแบบไม่น่าจะผิด (=____=) คือจริงๆแล้วต้องเป็น なりました ใช่มั้ย เพราะว่าไปทำมาแล้วก็ต้องสวยแล้วสิ เอ้อออ ไม่คิดเลย 
2. 怖いようです
 อันนี้ไม่รู้ว่าได้หรือไม่ได้ เพราะอาจารย์ขีดมา แล้วเขียนไว้ข้างบนว่า OK แต่ มีเครื่องหมาย ? แถมมาให้ด้วย 555 ก็เลยลองไปหาคำตอบดู คิดว่าในกรณีนี้อาจจะใช้ 怖そう แทนนะ  
3.女の子の整形のこと気にしません。
 ดีจ้ะ ผิดแบบไม่คิดอีกแล้ววววว โอ้ยยย แค่คำช่วยง่ายๆ เพราะมันคือ ことを気にしません。ก็รู้นะ ก็เรียนมา แต่ตอนพูดเนี่ย คิดไม่ทัน มั่วไปก่อน 
4.女の子そのことを知って・・・
 เอาอีกละ (= ='') เปลี่ยนจาก が เป็น は สินะ เพราะกว่ากล่าวถึง 女の子 มาแล้ว ทั้งๆที่ task คราวที่แล้วก็โดนแก้ไปแล้วรอบนึง 
5.じっとになりました。
 คำนี้คงไม่มีอยู่ในสารระบบญี่ปุ่นสินะ เป็นการสร้างคำเองของยูยู่ว 55 จริงๆแล้วต้องการจะบอกว่า ผูู้หญิงคนนั้นก็ตกใจช็อกยืนตัวแข็งถื่อเลย อะไรประมาณนี้ คำว่า じっと เนี่ย คุ้นหูมาจากการดูรายการทีวีรายการหนึ่ง จริงๆแล้วมันคือ じっとする แต่ด้วยความที่คิดว่าเป็นสภาพเลยน่าจะเป็น になる มากกว่า 

เอาล่ะ และเมื่อลองแก้ใหม่ก็กลายเป็นแบบนี้ 

 ねえ、恋人同士の面白いことがあるよ。あるすごい美人な人は素敵な彼氏ができた。でもね、実は彼女は整形美人だ。このことは彼氏さんが全然知らない。知ったら、ショックかもしれないね。で、ある日彼氏さんが彼女の家に来て、昔の写真を見てしまった。彼女は不安になって、もう別れられると思った。でも、彼氏さんは全然怒らなくて、そんなことを気にしないと言った。彼氏さんがいい人だと思っているだろう?でも、言った後、自分の髪の毛を外したよ。実は彼氏さんは髪の毛がないよ。だから、彼女の整形を気にしないのだ。彼女はこのことを知って、自分の昔の写真を見られた時よりショックした。
 
 ไม่รู้ว่าแก้แล้วผิดมากกว่าเดิมหรือเปล่า 555 แต่คราวนี้ได้ตัวอย่างมาอ่านแล้ว เลยพอเข้าใจได้ว่าให้เล่าเรื่องเหมือนคุยกับเพื่อน ก็เลยเปลี่ยนใหม่เกือบหมดเลย (*O*)/  เอาจริง บางทีก็ยังงงๆกับคำช่วย は กับ が อยู่ว่าไม่รู้ตรงไหนจะใช้อะไร เดี๋ยวคงต้องลองหาข้อมูลเพิ่มสักหน่อย 




วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ตอนที่ 5: 目に浮かぶ描写 (การ์ตูน 4 ช่อง) 「書き直し」

 สืบเนื่องจากบทความตอนที่แล้วที่เป็นดูการอธิบายการ์ตูนสี่ช่องแบบกระทันหันของตัวเองที่มั่วเยอะมาก 55 พอได้ลองมาเปรียบเทียบระหว่างของ native speaker กับของตัวเอง จึงนำมาพิจารณาว่ามีส่วนไหนที่ควรจะแก้ไขบ้าง รวมทั้งได้รับคำแนะนำจากอาจารย์และจากคุณคนญี่ปุ่นในบทความที่แล้ว ก็เลยนำมาแก้ได้ดังนี้...

               

       ホテルのロビーで二人の男性が同じソファーに座っています。眼鏡をかけている男性は新聞を読んでいます。もう一人の男性は特に何をするでもなくあたりを見回って、地図を手に持った外国人のおじさんと目が合ってしまいました。その外国人がにこにこして、何かを尋ねようと目が合った男性に歩み寄ってきました。その男性が外国語ができないから困って、逃げたくなります。逃げる方法を考えている時、隣に新聞を読んでいる男性を見て、彼の近くに座り新聞の陰に隠れました。

สิ่งที่เราได้แก้ไป 
1. คำศัพท์ที่ตอนนั้นเราไม่รู้ เช่น あたりを見回る、歩み寄ってくる เป็นเต้น 

2. แก้เป็น 目が合うกับ 新聞の陰に隠れる ที่ตอนนี้เข้าใจแจ่มแจ้งมาก 

3. อธิบายลักษณะของ 外国人 เพิ่มขึ้น ตรง にこにこして、何かを尋ねようと

4. อธิบายความรู้สึกของตัวผู้ชายที่พอสบตาแล้วอยากหนีไป เพราะว่าตัวเองพูดภาษาต่างประเทศไม่ได้  ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้บอกไว้ในภาพ แต่ผู้ที่ดูรูปต้องเข้าใจเอาเองว่าทำไมเขาถึงไม่อยากคุยกับคนต่างชาติ การ อธิบายแบบนี้น่าจะทำให้คนที่อ่านคำอธิบายเข้าใจได้มากขึ้น ดีกว่าอธิบายแค่ตามภาพที่เห็น 

5. แก้ตรงสุดท้ายที่บอกว่าเขยิบเข้าไปนั่งใกล้ๆคนที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตอนแรกใช้คำว่า 一緒にแต่คุณคน ญี่ปุ่นบอกว่าการใช้คำว่า  一緒に ก็ไม่ได้ทำให้ความรู้สึกใกล้กันมากขึ้น คนอ่านก็จะงงว่าตอนแรกก็ นั่งด้วยกันอยู่แล้วนี่ เราเลยแก้เป็นว่า 近くに座り แทน 

6. แก้จากที่บอกว่า 「男の人が怖くて、新聞を読んでいる人と一緒に座って、自分の顔を新聞 で隠しました」เป็น 「外国語ができないから困って、逃げたくなりますแทน 

    แฮ่! ดูสวยกว่าเดิมหรือยัง? >O< เพราะมีเวลาเขียน มีเวลาหาศัพท์ ถ้าให้พูดสดคงไม่ได้ขนาดนี้ T^T  แต่สักวันฉันจะต้องพูดได้แบบนี้ สู้ต่อไป เย้ววววว (^_________^)/