งานคราวนี้เป็นการให้อธิบายการ์ตูนสี่ช่อง :) อาทิตย์ก่อนโน้นพูดสดๆเลยทีเดียว ดูปุ๊ปพูดปั๊ป แหม่ เก่งจริงๆ ก็มั่วสิคะ พูดไม่รู้เรื่องเยอะเลย เรียนภาษาญี่ปุ่นเนี่ย ลำบากนะ เพราะไวยกรณ์มันไม่เหมือนกัน เวลาพูดภาษาญี่ปุ่นต้องคิดให้จบประโยคก่อนแล้วค่อยพูด แต่ภาษาไทยเนี่ย พูดไปก่อนก็ได้ค่อยคิดตามทีหลัง จึงเป็นปัญหาสำหรับเรามากเลย เวลาที่พูดญี่ปุ่นก็มักจะพูดไปก่อน แล้วมานึกถึงสิ่งที่อยากจะพูดได้ทีหลัง แล้วก็ไม่รู้จะเอาไปเสริมที่ตรงไหน ก็เลยเกิดอาการงงกับตัวเองว่าตกลงแล้วต้องการจะพูดอะไรต่อ (T^T) วิธีแก้คือควรจะคิดให้ดีก่อนว่าจะพูดอะไร แต่เอาเข้าจริงเวลาก็ไม่ได้มีมากขนาดให้คิดนานขนาดนั้น ก็เลยต้องแถๆไปก่อนให้พอได้ความ 55
เอาละรูปก็มีอยู่ดังนี้....
และนี่คือสิ่งที่ครั้งแรกที่เราได้พูดไป
ホテルのロビーで二人の男の人がソファーに座っています。一人の男は眼鏡をかけて、新聞を読んでいます。もう一人はその男の人の隣に座っています。新聞を読んでいない人は外国人を見て、目と目を合わせました。その外国人の手に地図があります。外国人がその男の人を見て、男の人の所に歩いて行きました。道を聞きたいらしいです。男の人が怖くて、新聞を読んでいる人と一緒に座って、自分の顔を新聞で隠しました。
ตัวแดงคือสิ่งที่อาจารย์ขีดเส้นมาให้
ปัญหาที่เราพบจากการทำ task ในครั้งนี้ตอนแรกคือ
1. เป็นผู้ชายสองคนซึ่งจะอธิบายลักษณะของเขาให้ต่างกันอย่างไรดี เราเลยเลือกใช้ว่าเป็นคนที่อ่าน หนังสือพิมพ์กับคนที่ไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ แต่จริงๆแล้วพอมาดูจากประโยคที่เราพูดไปก็รู้สึกว่ามัน แปลกๆ
2. อยากอธิบายลักษณะท่าทางของ 外国人 ให้มากกว่านี้ แต่นึกศัพท์ไม่ค่อยออก จริงๆแล้วเราอยาก บอกว่า "ผู้ชายอีกคนหนึ่งมองไปรอบๆแล้วบังเอิญไปสบตากับคนต่างชาติที่ถือแผนที่ไว้ในมือดูเหมือน หลงทางอยู่ พอสบตาปุ๊ปคนต่างชาติก็มีท่าทางดีใจแล้วเดินมาหา" และนี่ก็เป็นตัวอย่างของปัญหาที่เรา ได้เกริ่นไปตอนแรก เพราะเราไม่ได้คิดให้ประโยคเสร็จสมบูรณ์ก่อน เราเลยพูดได้แค่ว่า 新聞を読ん でいない人は外国人を見て、目と目を合わせました (ตัวแดงไว้ก่อน เดี๋ยวอธิบายทีหลัง นะจุ๊ :*) แล้วค่อยมาเสริมที่หลังว่า その外国人の手に地図があります。 ซึ่งก็ประหลาดๆ อยู่ดี เพราะจริงๆจะพูดว่า "ชาวต่างชาติคนนั้นถือแผนที่ไว้ในมือด้วย" แต่ด้วยความที่งงกับ
ไวยกรณ์อยู่และเวลาบีบคั้น เลยออกมาเป็นแบบนี้แทน (= ='')
3. คำว่า "สบตา" ภาษาญี่ปุ่นคืออะไร???? ตอนนั้นคิดไม่ถึง อยู่ๆคำว่า 目と目を合わせる ลอยขึ้นมาใน หัว เลยใช้ไปทั้งๆอย่างนั้นเลย
เมื่อดูของ native speaker
1. พบว่า native speaker มีการบรรยายอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครใส่ลงไปด้วย ในขณะที่เราไม่ได้ บรรยายเลย เราเห็นภาพยังไงเราก็อธิบายไปทั้งๆอย่างงั้น ซึ่งเราคิดว่าการบรรยายอารมณ์ความรู้สึก ของตัวละครลงไปด้วยเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าจะทำให้ผู้อ่านสามารถเห็นภาพได้ชัดกว่าว่าบรรยากาศ ความรู้สึกในตอนนั้นเป็นอย่างไร
2. ท่าทางหนึ่งอย่างสามารถพูดออกมาได้หลายแบบเช่น ตอนที่สบตากัน บางคนก็ใช้คำว่า 目線が合う บางคนก็เป็น 視線が合うบางคนก็ 目が合うในขณะที่เรารู้จักแต่คำว่า 目が合う นอกจากนี้ก็ยังมี คำว่าเดินเข้ามาหา ก็มีทั้งคำว่า 近づいてきた 近寄った 歩み寄ってきた หรือ 寄ってきた ก็ ทำให้เราได้รู้จักคำที่หลากหลายมากขึ้น
3. ส่วนของคนที่ได้รับการโหวตว่าดีที่สุดนั้น เรารู้สึกว่าเขาเขียนเนื้อเรื่องคล้ายกับนิยายมีการแบบยาย ภาพ อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครที่ละเอียด ทำให้ผู้อ่านรู้สึกราวกับว่ากำลังเห็นเหตุการณ์นั้นอยู่ตรง หน้า แตกต่างกับของบางคนที่เขียนอธิบายเป็นช่องๆว่า ช่องแรกมีรูปอย่างนี้ๆ ช่องที่สองเป็นแบบนี้ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเสียอรรถรสในการอ่าน
เมื่อลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่อาจารย์ขีดเส้นมาให้
1. 新聞を読んでいない人は外国人を見て、目と目を合わせました。
ประโยคนี้ทำไมถึงผิด เพราะว่าจริงๆจะบอกว่า "มองไปรอบๆแล้วไปสบตากับคนต่างชาติ" แต่ ด้วยความที่นึกคำว่า "มองไปรอบๆ" ไม่ออกก็เลยใช้แบบนี้ไปทั้งๆที่รู้ว่าไม่ใช่ ;_; ส่วน 目と目 を合わせました เป็น 他動詞 คือทำให้สายตามาประสบพบเจอกัน ทั้งๆที่ในสถานการณ์นี้มัน คือการสบตากันโดยบังเอิญ (- -'') จริงๆแล้วต้องทำให้เป็น 自動詞 คือ 目が合いました。 เคลียร์ฮะ
2. 道を聞きたいらしいです。
แว๊บแรกที่นึกถึงคำว่าดูเหมือน คำว่า らしい ก็ออกมาจากหัวก่อนใครเพื่อน ประโยคนี้เลยได้คำว่า ら しい ไปครอง แต่จริงๆแล้ว คือมัน ผิดค่ะ! T^T ใช้ らしい ไม่ได้นะก๊ะ เพราะ らしい ใช้แปลว่า
"สมกับที่เป็น" หรือถ้าจะใช้ในเชิง "ดูเหมือน" น่าจะเป็นการสันนิษฐานจากการได้ยินอะไรมาแล้วก็นำ
มาสันนิษฐาน แต่ไม่ได้เห็นด้วยตาตัวเองแบบนี้ ในกรณีนี้น่าจะเปลี่ยนเป็นคำว่า 〜ようだ หรือ みた
いだ แทน
3. 自分の顔を新聞で隠しました。
เหตุผลที่เราใช้ 隠す เพราะว่าเป็นการซ่อนใบหน้าของตัวเองคือ 自分の顔を隠す เราก็เลยสงสัยว่า
ทำไมถึงใช้ไม่ได้ เลยลองเสิร์ชๆหาดูว่า 隠れるกับ隠す ต่างกันอย่างไร จากการเปิด
dictionary.goo.ne.jp ก็พบดังนี้
隠す = 人の目に触れないようにする。物で覆ったり、しまい込んだりする
例:「両手で顔を―・す」
隠れる = 身を人目につかないようにする
例:「物陰に―・れる」
ตอนแรกเราเลยรู้สึกว่าจริงๆแล้วประโยคของเราก็น่าจะใช้ได้ แต่เราก็คิดว่าอาจเป็นเพราะสถานการณ์ที่ไม่ได้หยิบหนังสือพิมพ์มาซ่อน แต่เข้าไปหลบซ่อนในหนังสือพิมพ์ อย่างตัวอย่างของ 隠れる ก็เป็นหลบซ่อนที่ 物陰 ในสถานการณ์นี้คือคนนี้เอาตัวเข้าไปหลบใน 新聞 แต่ไม่ได้ยก 新聞 มาปิดหน้า จึงควรจะใช้ 隠れる
เอาละ เดี๋ยวต้องไปแก้ส่งก่อนนนน :))) ไปละ วิ้ววววว~~~
こんばんは、はじめまして。
ตอบลบ今回のタスクで、いろいろ新しい表現を覚えることができたんですね。似たような言葉でも使い分けがあって難しいですね。
「隠す」と「隠れる」についてですが、
「新聞で顔を隠す」なら、動くのは新聞です。新聞を動かして、顔の前に持っていって顔を隠すイメージです。
「新聞(の陰)に隠れる」なら、動くのは人です。新聞は同じところにあって、その後ろに隠れるイメージです。
次に、上の文を読ませてもらって、もう少し説明したほうがいいかなと思ったことです。小さい男の人は絵では、初めは新聞を読んでいる人から離れて座っていますが、途中で動いてますよね?絵を見ないで「一緒に座って」という文を読んだとき、あれ?初めから隣に一緒に座っているんじゃなかったの?と思ってしまいました。
それから、「男の人が怖くて、新聞を読んでいる人と一緒に座って、自分の顔を新聞で隠しました」の「男の人」は外国人のことですか?「(新聞を読んでいない男の人は)外国人が怖くて、・・・」でしょうか??
最後に、「その外国人の手に地図があります」という文について、わたしは使っていいと思いますよ。小説など、描写の場面ではこういう表現を使うことがあります。
それでは、がんばってくださいね。
こんにちは〜 はじめまして。:)
ลบいろいろ教えてくれて、ありがとうございました!今「隠す」と「隠れる」の使い方がはっきりわかりました。それから、説明文がもう書き直して、これからアップします。もしよかったら、読んでみてください。
「隠す」と「隠れる」について、わたしの説明がよくなかったかな。この前書いたのは一例です。「動くのは何か」だけで考えるということではありません。
ตอบลบ例えば、「塀(へい)に隠れる」も言えますし、「塀に身を隠す」も言えます。動いているのはどちらも人です。いろいろな例を探してみるといいですよ。
それから、「もう」の使い方について勉強し直すといいかもしれません。
また読ませてもらいますね。